ศึกษาภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6 จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ :โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6 จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช (MEC) และจากคณะแพทยศาสตรมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์(PSU) ขณะมาฝึกปฏิบัติงานพร้อมกันที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช พร้อมทั้งหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า
วัสดุและวิธีการศึกษา : นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6 เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น50 คน แบ่งเป็น 26 คนมาจาก MEC และ 24 คนมาจาก PSU ทั้งหมดได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบประเมิน Thai Hamilton Rating Scale for Depression 17 items ( Thai HRS-D 17) ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดย R Foundation for Statistical Computing program และใช้วิธีทางสถิติ Wilcoxon rank-sum test and Fisher's exact test ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา : พบภาวะซึมเศร้าทั้งหมด 8 คนจากจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ16 โดยพบว่า 5 คนมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ10 พบว่ามี 1 คนมีภาวะซึมเศร้าไม่ถึงขั้นรุนแรงคิดเป็นร้อยละ 2 และ พบว่ามี 2 คน มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงคิดเป็นร้อยละ 4 ซึ่งทั้งหมดเป็น นศพ.จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างนักศึกษาแพทย์จากทั้งสองสถาบัน p-value= 0.7)) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ได้แก่ การขอคำปรึกษาจากแพทย์รุ่นพี่ (p-value = 0.024), ความคิดอยากลาออกจากการเรียน p-value= 0.03)), การไม่พึงพอใจในตัวอาจารย์แพทย์ (p-value = 0.044) และการไม่พึงพอใจ สิ่งอำนวย ความ สะดวกใน รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ( p-value = 0.049)
สรุป : ความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ขณะมาปฏิบัติงานที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชคิดเป็นร้อยละ16 ไม่พบความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างนักศึกษาแพทย์จากทั้งสองสถาบัน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าสูงสุดได้แก่ การขอคำปรึกษาจากรุ่นพี่เวลาเจอปัญหา และความคิด อยากลาออกจากการเรียนแพทย์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น