แผลงูกัดในเด็ก : ปัจจัยเสี่ยงและผลของการรักษาด้วยการผ่าตัด
คำสำคัญ:
แผลงูกัดในเด็ก, การรักษาโดยการผ่าตัดบทคัดย่อ
บทนำ : งูกัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่พบบ่อยในชนบท ผู้ป่วยเด็กที่ถูกงูกัดจะได้รับการรักษา โดยกุมารแพทย์แล้วจะปรึกษากุมารศัลยแพทย์เพื่อดูแลแผล ผู้ป่วยที่แผลมีภาวะแทรกซ้อนส่วนหนึ่งจะได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด
วัตถุประสงค์ : เพื่อ ศึกษาระบาดวิทยาของแผลงูกัดในเด็ก อัตราการรักษาโดยการผ่าตัดปัจจัยเสี่ยงและผลของการรักษาโดยการผ่าตัดของผู้ป่วยงูกัดในเด็กที่รักษา ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วัสดุและวิธีการศึกษา : ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กอายุ 0-15 ปีที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เพราะโดนงูกัดตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2559
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 124 คน เป็นเด็กผู้ชาย 74 คน เด็กผู้หญิง 50 คนอายุ 10 เดือนถึง 14 ปี อายุเฉลี่ย 8.68 ปี ภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอพระพรหม จำนวน 80 คน (ร้อยละ 64.5) อำเภออื่นๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 39 คน (ร้อยละ 31.5) และจังหวัดอื่น 5 คน (ร้อยละ 4) ชนิดงูที่กัดไม่ทราบชนิด 63 คน (ร้อยละ 50.8) งูเห่า 31 คน (ร้อยละ 25) งูกะปะ 30 คน (ร้อยละ 24.2) ผู้ป่วย 64 คน (ร้อยละ 51.6) มีอาการเป็นพิษเฉพาะที่ (local effect) ได้รับการรักษาโดยการให้เซรุ่ม 43 คน (ร้อยละ 34.7) ได้รับยาปฏิชีวนะ115 คน (ร้อยละ 82.7) ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพราะระบบหายใจล้มเหลว จากพิษงูเห่า 23 คน มีภาวะ compartment syndrome 2 คน มีภาวะแทรกซ้อนของแผล 49 คน ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด 26 คน (ร้อยละ 21.0) การรักษาทางศัลยกรรม เป็นการผ่าตัดระบาดหนอง 5 ราย 2 ราย ต้องมาผ่าตัดเนื้อตายเพิ่มเติม การตัดเนื้อตาย (excisional debridement) 23 คน ผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนัง (STSG) 6 คน ผ่าตัด below knee amputation 1 คน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 1-45 วัน เฉลี่ย 3.47 วันติดตามการรักษาจนแผลหายรวมเวลารักษาทั้งหมด 1-165 วัน เฉลี่ย 12.28 วัน ผู้ป่วยที่อยู่ในเขตรับผิดชอบปฐมภูมิของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คือ อำเภอเมือง และอำเภอพระพรหม มีผู้ป่วย 80 คน มีผู้ป่วยงูกัดที่มีภาวะแทรกซ้อนของแผลต้องผ่าตัด 5 คน (ร้อยละ 6.25) ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ ภูมิลำเนาอำเภออื่น อายุน้อยกว่า 5 ปี มีอาการโดนพิษเฉพาะที่และมีอาการโดนพิษแบบ systemic โดนงูเห่ากัด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (VCT prolong) ได้รับเซรุ่มต้านพิษงู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจะมีโอกาสที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัดมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัจจัยดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ผู้ป่วยงูกัดในเด็กพบได้บ่อยต้องรักษาแผลโดยการผ่าตัด ร้อยละ 6.25 ผู้ป่วย อายุน้อยกว่า 5 ปี มีอาการโดนพิษเฉพาะที่ และมีอาการโดนพิษแบบ systemic โดนงูเห่ากัด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (VCT prolong) ต้องได้รับเซรุ่มต้านพิษงู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจน่าจะต้องได้รับการดูแลแผล โดยกุมารศัลยแพทย์ตั้งแต่รับไว้ในโรงพยาบาล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ก่อนเท่านั้น