ผลของการฝึกทักษะการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

Authors

  • นิตยา อินเทศ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม 73130
  • วัลลีย์ ภัทโรภาส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม 73130
  • สุพิตร สมาหิโต คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน นครปฐม 73130

Keywords:

การฝึกทักษะการรับรู้, การเรียนรู้, สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและหาค่าความแตกต่างผลของฝึกทักษะการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) จากประชากรจำนวน 110 คน ที่มีอายุระหว่าง 6-7 ปี จากโรงเรียนเพลินพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2554 แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน โดยการจัดสมาชิกเข้ากลุ่ม (randomly assignment) เป็นกลุ่มควบคุม ให้เข้ารับกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ กลุ่มทดลองที่ 1 เข้ารับกิจกรรมการเรียนการสอนปกติควบคู่กับการฝึกทักษะการรับรู้ด้วยการเล่นอิสระ กลุ่มทดลองที่ 2 เข้ารับกิจกรรมการเรียนการสอนปกติควบคู่กับการฝึกทักษะการรับรู้ด้วยกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (sensory integration training) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 – 08.50 น.แบบฝึกทักษะการรับรู้และแบบทดสอบการเรียนรู้ตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ โดยการหาความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) ด้วยวิธีการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence:IOC) สำหรับการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพได้ใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่1 (ป.1-ป.3)ในโรงเรียนทดลอง BBL (brain based learning) (สุพิตรและคณะ, 2552) ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบการเรียนรู้และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance: ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one way analysis of variance with repeated) และหาค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ (multiple compairison) โดยวิธีของ Tukey และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               ผลการวิจัย พบว่าภายหลังการฝึกทักษะการรับรู้สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ค่าเฉลี่ยการเรียนรู้ของกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .05 กับกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่  2 แต่พบว่าค่าเฉลี่ยการเรียนรู้ของกลุ่มควบคุม แตกต่างกับกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05 เมื่อหาค่าความแตกต่าง  สำหรับผลของการฝึกทักษะการรับรู้ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนการฝึกและภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภายในกลุ่ม พบว่า กลุ่มควบคุมทุกรายการทดสอบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มทดลองที่ 1 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในรายการ ดันพื้น 30 วินาที และวิ่งอ้อมหลัก  ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ 2 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .05 ในรายการ ลุกนั่ง 60 วินาที     ดันพื้น 30 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้า วิ่งอ้อมหลัก และวิ่งระยะไกล 1,200 เมตร แต่ไม่พบความแตกต่างในรายการเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย  ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ครูพลศึกษา ครูระดับประถมศึกษา สามารถนำกิจกรรมการฝึกทักษะการรับรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปประยุกต์กับการเรียนการสอนกิจกรรมทางกาย เพื่อเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กในวัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

 

(Journal of Sports Science and Technology, 2012; 12 (1): 155 -166)

 

Downloads

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article