ผลของความเข้มข้นของเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

Authors

  • อรัทยา ถนอมเมฆ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ประทุม ม่วงมี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ความเข้มข้นของเครื่องดื่มผสมกลูโคส/ อัตราการเต้นของหัวใจ/ ปริมาณแลคเตทในเลือด/ ปริมาณกลูโคส

Abstract

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการได้รับเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้นต่างกัน และเครื่องดื่มเลียนแบบ ที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ปริมาณแลคเตทและกลูโคสในเลือด กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นนักกีฬาเพศหญิง จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง จำนวน 38 คน มีอายุเฉลี่ย 19.74±1.33 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 48.89 ± 6.29 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 157.09 ± 4.89 เซนติเมตร และชีพจรขณะพักเฉลี่ย 76.93± 6.55 ครั้งต่อนาที การออกกำลังกายกระทำโดยการขี่จักรยานให้อัตราชีพจรถึง 170 ครั้ง/นาที เมื่อหยุดขี่จักรยานจะได้รับเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันคือ 3%, 7%, 10% และเครื่องดื่มเลียนแบบ จำนวน 500 มิลลิลิตร ทั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูล เพื่อประเมินอัตราการเต้นของหัวใจ ปริมาณแลคเตทและกลูโคสในเลือด ขณะก่อนออกกำลังกาย และหลังออกกำลังกายนาทีที่ 1, 10 และ 20 แล้วนำผล       การทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิตพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Two within Subject ANOVA: Repeated Measurement และทดสอบผลย่อย (Simple effects) โดยวิธีการวิเคราะห์แบบ One -Way within Subject และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ หลังจากวิเคราะห์ความแปรปรวน (Post Hoc Test) โดยวิธีของนิวแมน – คูลส์ (Newman – Keuls method) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ0.05

             ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจ และปริมาณแลคเตทในเลือด ในกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้น 3%, 7%, 10% และเครื่องดื่มเลียนแบบ ในระยะต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบว่าปริมาณกลูโคสในเลือด     ในกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้น 3%, 7%, 10% และเครื่องดื่มเลียนแบบ ในระยะต่างๆ แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ พบว่า หลังออกกำลังกายนาทีที่ 10 และ 20 ในกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้น 7% มีปริมาณกลูโคสในเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มเลียนแบบ เครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้น 3% และ 10% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกลูโคส          ที่มีความเข้มข้น 7%, 10% และ 3% มีปริมาณกลูโคสในเลือดสูงกว่าเครื่องดื่มเลียนแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           จากข้อมูลที่ปรากฏสามารถสรุปได้ว่าเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้นต่างกัน ไม่มีผลต่ออัตราการเต้น          ของหัวใจและปริมาณแลคเตทในเลือด แต่มีผลต่อปริมาณกลูโคสในเลือด โดยพบว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มี             ความเข้มข้น 7% จะมีปริมาณกลูโคสในเลือดสูงกว่าเครื่องดื่มเลียนแบบและเครื่องดื่มผสมกลูโคสที่มีความเข้มข้นอื่นๆ

 

(Journal of Sports Science and Technology,2012;(1); 89 - 102)

Downloads

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article