ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขา

Authors

  • อภิลักษณ์ เทียนทอง คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ผกากรอง อุตสานนท์ ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาค 2 จ.สุพรรณบุรี
  • สุพัชรินทร์ ปานอุทัย สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Keywords:

ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา, พลังกล้ามเนื้อขา, ความแคล่วคล่องว่องไว, นักกีฬาเบสบอล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขากับความแคล่วคล่องว่องไวในนักกีฬาเบสบอลทีมชาติไทย ทำการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงได้นักกีฬาเบสบอลชายทีมชาติไทย จำนวน 20 คน (อายุเท่ากับ 20.76 + 3.57 ปี น้ำหนักเท่ากับ 71.49 + 14.07 กก. ส่วนสูงเท่ากับ 170.76 + 4.37 ซม. และไขมันในร่างกาย เท่ากับร้อยละ 13.82 + 6.38) ทำการทดสอบความแคล่วคล่องว่องไว ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา และพลังกล้ามเนื้อขา ได้ผลการทดสอบ ดังนี้ ความแคล่วคล่องว่องไว (T-test) เท่ากับ 9.57 + 0.32 วินาที, ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา (LS) เท่ากับ 254.25 + 31.91 กก., กระโดดแนวดิ่ง (VJ) เท่ากับ 51.56 + 4.79 ซม., ยืนกระโดดไกล (SLJ) เท่ากับ 228.58 + 14.74 ซม., กระโดดขาเดียว 1 ครั้ง ข้างขวา (OHR) เท่ากับ 186.89 + 13.00 ซม. และข้างซ้าย (OHL) เท่ากับ 186.84 + 13.36 ซม., ผลรวมของการกระโดดด้วยขาข้างขวา 1 ครั้งและขาข้างซ้าย 1 ครั้ง (TOHRL) เท่ากับ  373.74 + 26.25 ซม., กระโดดแบบ drop jump (DJ) เท่ากับ 30.99 + 3.86 ซม.,กระโดดขาเดียว 3 ครั้ง ข้างขวา (THR) เท่ากับ 616.63 + 55.84 ซม. และข้างซ้าย (THL) เท่ากับ 614.74 + 57.66 ซม., ผลรวมของการกระโดดด้วยขาข้างขวา 3 ครั้งและขาข้างซ้าย 3 ครั้ง (TTHRL) เท่ากับ 1,231.37 + 113.23 ซม., พลังอากาศนิยม(AP) เท่ากับ 11.96 + 0.87 วัตต์/กก. และสมรรถภาพอนากาศนิยม (AC)เท่ากับ 8.38 + 0.88 วัตต์/กก.

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) กับ T-test ได้แก่ DJ (r = -0.74), OHR (r = -055), OHL (r = -054), TOHRL (r = -055) และ AC (r = -058) ส่วนการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นพบว่า LS, VJ, SLJ, TOHRL, DJ และ TTHRL ร่วมกันพยากรณ์ ความแคล่วคล่องว่องไวได้ร้อยละ 84 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การกระโดดแนวดิ่ง และผลรวมของการกระโดดด้วยขาข้างขวา 1 ครั้งและขาข้างซ้าย 1 ครั้ง มีความสัมพันธ์กับความแคล่วคล่องว่องไวของนักเบสบอลชายทีมชาติไทยมากที่สุด

(Journal of Sports Science and Technology 2012 ;12(1): 45 - 55)

Downloads

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article