ผลของการยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้และแบบเคลื่อนไหวร่วมกับการอบอุ่นร่างกายต่อคิเนมาติกส์ของรยางค์ขา
Keywords:
อบอุ่นร่างกายยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ ยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหวคิเนมาติกส์ การวิ่งเร็วAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการอบอุ่นร่างกาย 3 แบบต่อคิเนมาติกส์ของรยางค์ขา และการวิ่งระยะสั้น ผู้เข้าร่วมการศึกษาสุขภาพดีอายุ 22.79+1.37 ปี อบอุ่นร่างกาย 3 แบบ แต่ละครั้งห่างกัน 1 วัน ได้แก่ อบอุ่นร่างกาย (Warm-up, WU) โดยวิ่งเหยาะ ๆ ความเร็วที่กำหนดด้วยตนเอง 10 นาที และวิ่งเร็วระยะทาง 30 เมตร จำนวน 3 รอบ อบอุ่นร่างกายร่วมกับยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว (DWU with Dynamic stretching (DS)) โดยยืดกล้ามเนื้อท่า heel flick, high knees, hip rolls, walking on toes, straight leg skipping, walking lunges and modified walking lunges และอบอุ่นร่างกายร่วมกับยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ (DWU with Static stretching (SS)) โดยยืดกล้ามเนื้อมัดเดียวกัน จากนั้นทดสอบวิ่ง 100 เมตร ด้วยความเร็วสูงสุด บันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องดิจิตอลวิดีโอหาค่ามุมการเคลื่อนไหวของรยางค์ขาด้วยโปรแกรมsiliconCOACH® ผลการวิจัยพบว่าจังหวะลงเท้าระยะ 0 และ 100 เมตร มุมข้อสะโพกข้อเข่า และข้อเท้าไม่เปลี่ยนแปลงหลังอบอุ่นร่างกายทั้ง 3 แบบ (p>0.05) จังหวะถีบเท้าระยะ 100 เมตรมุมข้อสะโพกเพิ่มขึ้นหลัง DWU+SS และ DWU+DS(p<0.05) แต่ไม่เปลี่ยนแปลงหลัง DWU(p>0.05) และมุมข้อเท้าไม่เปลี่ยนแปลงหลังอบอุ่นร่างกายทั้ง 3 แบบ (p>0.05)ที่ระยะ 50 เมตร มุมข้อสะโพกจังหวะลงเท้าลดลงหลัง DWU และ DWU+SS(p<0.05) และไม่เปลี่ยนแปลงหลัง DWU+DS(p>0.05) ส่วนจังหวะถีบเท้า มุมข้อสะโพกไม่เปลี่ยนแปลงหลังอบอุ่นร่างกายทั้ง 3 แบบ (p>0.05) มุมข้อเข่าไม่เปลี่ยนแปลงในจังหวะลงเท้าและถีบเท้าหลังอบอุ่นร่างกายทั้ง 3 แบบ (p>0.05) ส่วนมุมข้อเท้าลดลงในจังหวะลงเท้าและเพิ่มขึ้นในจังหวะถีบเท้าภายหลัง DWU+DS(p<0.05)แต่ไม่เปลี่ยนแปลงในจังหวะลงเท้าและถีบเท้าหลัง DWU และ DWU+SS(p>0.05)ส่วนหลัง DWU+DSส่งผลให้ลดเวลาวิ่ง 50 เมตร แต่ไม่มีผลต่อเวลาวิ่ง 100 เมตร นอกจากนี้ยังพบว่า DWU และ DWU+SS ไม่เปลี่ยนแปลงเวลาวิ่งระยะ 50 และ 100 เมตร
(Journal of Sports Science and Technology 2012 ;12(1): 33 - 44)