ความสัมพันธ์ระหว่างการบาดเจ็บจากการทำงาน ความเครียดกับฮอร์โมนคอร์ติซอลในน้ำลาย และผลของการฝึกโยคะ

Authors

  • อมรพันธ์ อัจจิมาพร วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม 73170

Abstract

การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบต่อผู้คนทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง เมื่อผนวกกับปัจจัยด้านความรุดหน้าทางเทคโนโลยี ยิ่งพบว่ามีผลกระทบไปถึงด้านสุขภาวะของผู้คนในสังคมโดยตรง ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยแต่ปรากฏขึ้นทั่วโลก (1, 2) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2007 (3)รายงานว่า ลูกจ้างจำนวน 5488 ราย เสียชีวิตจากการประสบอันตรายจากการทำงาน และ National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) (4) ประมาณว่าลูกจ้างจำนวน 4ล้านคน ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยแต่ไม่ถึงกับชีวิต อันเนื่องจากการทำงานเช่นกันสอดคล้องกับข้อมูลผู้ประสบอันตราย จากการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ในประเทศไทย รายงานว่าในปี พ.ศ.2554 (5) มีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน 129,632 ราย ในจำนวนนี้มีลูกจ้างจำนวน 590 ราย เสียชีวิตจากการประสบอันตรายจากการทำงาน และจำนวนอีกกว่า 37,343 ราย ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยแต่ไม่ถึงกับชีวิต (ได้แก่ หยุดงานเกิน 3 วัน สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพ) จากสถิติตามแผนภูมิที่1 ยังแสดงให้เห็นว่า ใน5 ปี (2550-2554) ที่ผ่านมา คนทำงานในวัยทำงาน (20-29 ปี) มีอัตราการประสบอันตรายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง  คิดเป็นร้อยละ 39.39 ต่อปี เมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ

 

(Journal of Sports Science and Technology 2013;13(2): 1 - 7 )

Downloads

Published

2013-12-27

Issue

Section

Research Article