ผลของการฝึกทักษะทางจิตใจที่มีต่อความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกอล์ฟอาชีพไทย

Authors

  • สุพัชรินทร์ ปานอุทัย สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • อภิลักษณ์ เทียนทอง คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Keywords:

ทักษะทางจิตใจ, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, นักกอล์ฟอาชีพ

Abstract

ความสำคัญ: เกมกอล์ฟกว่าร้อยละ 90 เป็นเรื่องของจิตใจ การสร้างเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจจะช่วยให้นักกอล์ฟอาชีพไทยมีโอกาสประสบความสำเร็จในการแข่งขันกอล์ฟทั้งในระดับชาติและนานาชาติได้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกทักษะทางจิตใจที่มีต่อความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกอล์ฟอาชีพไทย

กลุ่มตัวอย่าง นักกอล์ฟอาชีพไทย เพศชาย จำนวน 12 คน อายุระหว่าง 19 - 40  ปี โดยวิธีอาสาสมัคร มีคุณสมบัติ คือ เป็นนักกอล์ฟอาชีพอย่างน้อย 2 ปี เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อสะสมเงินรางวัลอย่างน้อยปีละ 5 ครั้ง แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมทำการฝึกซ้อมกอล์ฟตามปกติ จำนวน 6 คน และกลุ่มทดลองทำการฝึกซ้อมกอล์ฟควบคู่กับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกทักษะทางจิตใจ จำนวน 6 คน โดยวิธีการจัดเข้ากลุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: 1) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจของ Loehr ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งทำการแปลเป็นภาษาไทย โดย อมรรัตน์ ศิริพงศ์ เพื่อประเมินความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ ความมั่นใจในตนเอง การควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ แรงจูงใจ พลังงานเชิงบวก และการควบคุมทัศนคติ 2) โปรแกรมการฝึกทักษะทางจิตใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง

การเก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างโปรแกรมการฝึกทักษะทางจิตใจ โดยทำการฝึกจำนวน 2 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างความเข้มแข็งทางจิตใจ ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมการฝึก โดยใช้สถิติค่าที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  1. หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเข้มแข็งทางจิตใจเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมในด้านความมั่นใจในตนเอง การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ การควบคุมทัศนคติ และรวมทุกด้าน (p < 0.05)
  2. หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเข้มแข็งทางจิตใจ ประกอบด้วย ความมั่นใจในตนเอง การควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ แรงจูงใจ และการควบคุมทัศนคติ เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนการฝึก (p < 0.05)
  3. โปรแกรมการฝึกทักษะทางจิตใจสำหรับนักกอล์ฟอาชีพไทย  ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย  การควบคุมการหายใจ การรวบรวมจุดสนใจหรือโฟกัส การจินตภาพ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การพูดและการคิดกับตนเอง

 

(Journal of Sports Science and Technology 2012;12 (2): 117 - 129)

 

 

Downloads

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article