ผลของการฝึกความอดทนและความเร็วต่อเฮช-รีเฟล็กซ์และสมรรถภาพทางกายในนักกีฬาฟุตซอล

Authors

  • หฤทัย จันธรรม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • ราตรี เรืองไทย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
  • อารีรัตน์ สุทธิธาดา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140

Keywords:

การฝึกความอดทน, เฮชะรีเฟล๊กซ์, สมรรถภาพทางกาย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกความอดทนและความเร็วต่อเฮช-รีเฟล็กซ์และสมรรถภาพทางกายในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลชาย  โรงเรียนกีฬานครนนวิทยา  อายุระหว่าง 14-18 ปี  จำนวน  25  คน  โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการทดสอบ  เฮช-รีเฟล็กซ์  ทดสอบความเร็วด้วยการวิ่ง 20 เมตรและทดสอบความอดทนด้วยวิธี The Yo-Yo intermittent Endurance Test –Level  2  ก่อนเข้าโปรแกรมการฝึก กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการฝึกความอดทน จำนวน 3 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์  จากนั้นตามด้วยโปรแกรมการฝึกความเร็วจำนวน 3 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดสอบเช่นเดียวกันกับก่อนเข้าโปรแกรมการฝึกในสัปดาห์ที่ 8 และ12 นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบการวัดซ้ำมิติเดียวและเปรียบเทียบภายหลังโดยไช้วิธีของ Turkey กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า แสดงให้เห็นว่า เฮช-รีเฟล็กซ์ ก่อนได้รับการฝึก หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความอดทน ในสัปดาห์ที่ 8 และหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความเร็ว ในสัปดาห์ที่ 12  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยพบว่าเฮช-รีเฟล็กซ์ ค่า Hmax และ Hmax : Mmax ในสัปดาห์ที่ 8  สูงกว่า  สัปดาห์ที่ 12 ส่วนค่า  Mmax   ในสัปดาห์ที่ 12 หลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกความเร็ว มีค่าสูงกว่า ก่อนการฝึกและสัปดาห์ที่ 8  โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  สมรรถภาพด้านความอดทนในสัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกับก่อนการฝึก และสัปดาห์ที่  8 และ สัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกับก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนสมรรถภาพด้านความเร็ว ในสัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกับก่อนการฝึก และสัปดาห์ที่  8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  แต่สัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกับก่อนการฝึก

ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการเลือกโปรแกรมการฝึกความอดทนและความเร็ว เพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายด้านความอดทนและความเร็วพร้อมกับการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในกีฬาฟุตซอล

 

(Journal of Sports Science and Technology  2012; 12 (2): 61 - 71)

 

Downloads

Additional Files

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article