ผลเฉียบพลันของการออกกำลังกายแบบพิลาทีสต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาของระบบหัวใจ และปอด

Authors

  • อาภาภรณ์ จันทร์แก้ว สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200
  • อาทิตย์ พวงมะลิ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200

Keywords:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองแบบเฉียบพลันของการออกกำลังกายแบบพิลาทีสต่อการตอบสนองของระบบหัวใจ และปอด ในคนปกติที่ไม่มีโรคประจำตัวจำนวน 30 คนเพศชาย 14 คน เพศหญิง 16 คนอายุเฉลี่ย 23.3 ± 1.74 ปี ทำการสุ่มโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองแบบเฉียบพลันของการออกกำลังกายแบบพิลาทีสต่อการตอบสนองของระบบหัวใจ และปอด ในคนปกติที่ไม่มีโรคประจำตัวจำนวน 30 คนเพศชาย 14 คน เพศหญิง 16 คนอายุเฉลี่ย 23.3 ± 1.74 ปี ทำการสุ่มโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ  กัน คือกลุ่มออกกำลังกาย 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มออกกำลังกายจะได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบพิลาทีสเป็นเวลา 40 นาที และกลุ่มควบคุมจะให้นอนหงายชันเข่า สะโพกงอ 70 องศา พัก เป็นเวลา 40 นาที ทั้ง 2 กลุ่มจะถูกวัดค่าของอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) , ความดันโลหิต (BP) , การไหลเวียนโลหิตภายใต้เนื้อเยื่อที่บริเวณกล้ามเนื้อหลัง (BF) และค่าแรงดันสูงสุดของการหายใจเข้าและหายใจออก (PImax, PEmax) ทั้งก่อนและหลัง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทั้งภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ผลการศึกษาพบว่าการตอบสนองอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ของกลุ่มควบคุมค่อนข้างคงที่ ในขณะที่กลุ่มออกกำลังกายมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คิดเป็นร้อยละ 52.54±3.56 ของอัตรา

การเต้นหัวใจสูงสุด เทียบได้กับความหนักระดับเบา (mild intensity) และมีค่าเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มออกกำลังกายมีค่าของความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) และค่าอัตราการไหลเวียนโลหิตภายใต้เนื้อเยื่อบริเวณกล้ามเนื้อหลัง (BF) ภายหลังการออกกำลังกายมีค่าเพิ่มขึ้นและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่าของความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (DBP) และค่าของแรงดันสูงสุดของการหายใจเข้าและหายใจออก (PImax, PEmax) พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม (p>0.05) การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่ากลุ่มออกกำลังกายหลังจากการออกกำลังกายจะมีการตอบสนองอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) , ค่าของความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) และค่าอัตราการไหลเวียนโลหิตภายใต้เนื้อเยื่อบริเวณกล้ามเนื้อหลัง (BF) มีค่าเพิ่มขึ้น และมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

(Journal of Sports Science and Technology ,2012; 12(1) : 39 - 49)

Downloads

Published

2012-12-29

Issue

Section

Research Article