ผลของการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะจำเพาะผลของการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะจำเพาะของนักกีฬาบาสเกตบอล
Keywords:
ความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว/สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ / บาสเกตบอลAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความมั่นคงของแกนกลางลำตัวและเชิงกรานและสมรรถภาพทางทักษะ ได้แก่ ความคล่องแคล่ว กำลังกล้ามเนื้อขา ในอาสาสมัครนักกีฬาบาสเกตบอลชาย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จำนวน 18 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง อย่างละ 9 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกบาสเกตบอล เพียงอย่างเดียวแต่กลุ่มทดลองได้รับการฝึกบาสเกตบอลร่วมกับการออกกำลังกายตามโปรแกรมเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีการทดสอบความมั่นคงของกระดูกสันหลังและและเชิงกราน (Lumbopelvic stability test; LPST) สมรรถภาพทางทักษะ ได้แก่ การทดสอบ South East Missouri State University (SEMO) เพื่อทดสอบความคล่องแคล่ว การทดสอบ Sargent เพื่อทดสอบกำลังกล้ามเนื้อขา ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ Pair t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าความคล่องแคล่ว (Agility) และกำลัง (Power) ของการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง สถิติ Unpaired t-test เพื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สถิติ Wilcoxson signed-rank test เพื่อเปรียบเทียบ ค่า LPST ก่อนและหลังการทดลอง และสถิติ Mann-Whitney U test เพื่อเปรียบเทียบค่า LPST ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 พบว่าหลังการฝึก ค่า LPST และความคล่องแคล่วในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) การศึกษานี้ไม่พบความแตกต่างของค่ากำลังกล้ามเนื้อขาหลังการฝึก (p>0.05) ของกลุ่มทดลอง แต่พบว่ามีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวสามารถเพิ่มความมั่นคงของแกนกลางลำตัวและเชิงกรานและความคล่องแคล่วในนักกีฬาบาสเกตบอลชายได้
(Journal of Sports Science and Technology 2012; 12 (2): 17 – 26 )
คำสำคัญ