Publication Ethics
จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication ethics)
จริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารเภสัชศาสตร์ภาคเหนือ มีดังนี้
จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Ethics of author)
- ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูลในงานวิจัย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน กระบวนการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายและสรุปผล การวิจัย อย่างถูกต้องชัดเจนและตรงไปตรงมา
- ผู้นิพนธ์ควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณการตีพิมพ์ ห้ามลอกเลียน คัดลอก หรือดัดแปลงบทความอื่น หรือแสดงพฤติกรรมใดๆ ที่ผิดต่อจรรยาบรรณฯ กรณีใช้ผลงานของผู้อื่น ต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง
- ต้นฉบับของบทความที่ส่งมายังวารสารฯ ต้องไม่มีการเผยแพร่ใดๆ มาก่อน และ/หรือไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์โดยวารสารอื่น
- ผู้นิพนธ์ที่ระบุในบทความทั้งหมด ต้องรับรองเนื้อหาต้นฉบับ รายนามผู้นิพนธ์ และความรับผิดชอบโดยลงลายมือชื่อยินยอมและอนุมัติให้ส่งต้นฉบับเพื่อเผยแพร่มายังวารสารฯ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในบทความหลังจากส่งต้นฉบับ จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้นิพนธ์ทุกท่าน
- กรณีงานวิจัยในมนุษย์หรืองานวิจัยในสัตว์ทดลอง ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามแนวทางจริยธรรมการวิจัย โดยได้รับอนุมัติและมีเอกสารรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการศึกษาวิจัยฯ กรณีการทำวิจัยในมนุษย์ ผู้นิพนธ์ต้องระบุรายละเอียดในต้นฉบับของบทความว่าที่ได้รับความยินยอมจากอาสาสมัครหรือผู้เข้าร่วมวิจัย
- ผู้นิพนธ์ควรเปิดเผยแหล่งทุนของการวิจัย และยืนยันการปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
- กรณีผู้นิพนธ์พบความผิดพลาดของบทความที่เผยแพร่ ต้องดำเนินการแจ้งต่อกองบรรณาธิการ และให้ความร่วมมือในการแก้ไขให้ถูกต้อง
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Ethics of reviewers)
- ผู้พิจารณาบทความควรประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ กรณีไม่มีคุณสมบัติหรือไม่มีความเชี่ยวชาญในบทความนั้น ๆ ให้แจ้งบรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินบทความ
- ผู้พิจารณาบทความควรแจ้งแก่กองบรรณาธิการ กรณีมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความ และปฏิเสธการประเมินบทความดังกล่าว
- ผู้พิจารณาบทความควรให้คำตอบที่รวดเร็วทันเวลาและเป็นกลางต่อบรรณาธิการเกี่ยวกับต้นฉบับ
- ผู้พิจารณาบทความไม่ควรเปิดเผยเนื้อหาของบทความต่อผู้อื่น ทั้งนี้ แนวคิดหรือข้อมูลของบทความต้องเก็บเป็นความลับ และไม่นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
- ผู้พิจารณาบทความควรวิจารณ์และให้คำแนะนำด้วยมุมมองที่ถูกต้องชัดเจนและมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ไม่วิจารณ์เนื้อหาของบทความด้วยความเห็นส่วนตัว
- ผู้พิจารณาบทความควรแจ้งแก่กองบรรณาธิการ กรณีพบความทับซ้อนหรือคล้ายคลึงของบทความซึ่งตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ โดยผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างอิงผลงานวิจัยดังกล่าว
จรรยาบรรณของกองบรรณาธิการ (Ethics of editors)
- กองบรรณาธิการต้องประเมินคุณค่าของบทความ เนื้อหา โดยปราศจากอคติที่มีต่อผู้นิพนธ์
- กองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความก่อนการตีพิมพ์แก่ผู้อื่น และไม่นำไปใช้ประโยชน์ใดๆ
- กองบรรณาธิการต้องประสานและติดต่อสื่อสารระหว่างผู้พิจารณาบทความและผู้นิพนธ์ เพื่อช่วยในการปรับปรุงบทความให้ดีขึ้น โดยบทความที่ส่งถึงผู้พิจารณาควรเป็นเอกสารลับ
- กองบรรณาธิการควรรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพิจารณาการตีพิมพ์บทความ
- กองบรรณาธิการควรชี้แจงเงื่อนไขและข้อกำหนดของการตีพิมพ์ให้แก่ผู้นิพนธิ์ โดยคำนึงถึงลิขสิทธิ์ และจริยธรรมการตีพิมพ์ กรณีบทความที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการต้องไม่ใช้ประโยชน์จากบทความ โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้นิพนธ์