Evaluation of Malaria surveillance 2019, Nongyaplong District, Phetchaburi

Main Article Content

ปางชนม์ เตี้ยแจ้

Abstract

          โรคไข้มาลาเรียยังเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ในรายงาน 506 พบว่า อำเภอหนองหญ้าปล้อง มีอัตราป่วยสูงที่สุด คือ 255.63 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี จึงทำการศึกษาการประเมินระบบเฝ้าระวังของโรคมาลาเรียนี้ขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพ ปรับปรุงและพัฒนา ระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย ทั้งที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง ข้อมูลจากรายงาน 506 และ Malaria online โดยวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางคุณลักษณะทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวัง ศึกษาจากเวชระเบียนและรหัสโรค ICD 10 ของผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 62, รายงานผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา, การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียทั้งกระบวนการ ขั้นตอน การรายงานในระบบเฝ้าระวัง รวมถึงความเห็นและทัศนคติที่มีต่อระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียผลการศึกษาพบว่าเมื่อทบทวนเวชระเบียนพบผู้ป่วยเข้ากับนิยามการเฝ้าระวัง 44 ราย รายงาน 506 พบ 35 ราย และ Malaria online 61 ราย รายงาน 506 และ Malaria online มีค่าความไว ร้อยละ 85.37, 89.71 และค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 81.40, 87.14 ตามลำดับ รายงาน 506 ข้อมูลที่สามารถเป็นตัวแทนกันได้ คือ สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง, พิสัยระหว่างควอร์ไทล์, จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียในแต่ละเดือน และจำนวนผู้ป่วยกระจายตามพื้นที่ที่เกิดโรคไข้มาลาเรีย มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ด้านความทันเวลาพบว่ารายงาน 506 มีความทันเวลาที่ร้อยละ 77.14 และ Malaria online ร้อยละ 95.08 การประเมินระบบเฝ้าระวังเชิงคุณภาพพบว่าทั้งรายงาน 506 และ Malaria online เป็นที่ยอมรับและมีความสำคัญต่อระบบเฝ้าระวัง ความมีเสถียรภาพ และความไหลลื่นเชิงระบบเป็นอย่างดี โดยสรุปแล้วการศึกษาพบว่าค่าความไวและพยากรณ์บวกอยู่ในเกณฑ์ดีในทุกระบบเฝ้าระวังที่ประเมิน แต่ Malaria online มีแนวโน้มดีกว่าเนื่องจากมีการสนับสนุนการรายงานแบบ Active case finding และการรายงานผ่าน Line รวมถึงความทันเวลาที่ดีกว่าด้วย ข้อมูลสัดส่วนเพศชายและเพศหญิง, จำนวนผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียในแต่ละเดือน และจำนวนผู้ป่วยกระจายตามพื้นที่ที่เกิดโรคไข้มาลาเรีย สามารถเป็นตัวแทนกันของทั้ง 2 ระบบได้ ด้านคุณภาพของระบบเป็นที่ยอมรับและมีความสำคัญต่อระบบเฝ้าระวังในพื้นที่ แม้ยังคงมีข้อจำกัดด้านการใช้โปรแกรมและการเข้าถึงข้อมูลในระบบ Malaria online ซึ่งเป็นจุดที่ควรพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนให้ระบบมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
เตี้ยแจ้ ป. Evaluation of Malaria surveillance 2019, Nongyaplong District, Phetchaburi. JDPC3 [Internet]. 2021 Dec. 14 [cited 2024 Apr. 20];15(3):44-58. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/article/view/247222
Section
Researce Article

References

1. กลุ่มงานพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อ ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์โครงการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ). กรุงเทพฯ; 2546.
2. ภาณุวัฒน์ มหรรณพนที, ทิพวรรณ ศรีทรมาศ. การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรีย จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ.2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์. 2562; 50: 653–60.
3. สราวุธ สุวัณณทัพพะ และคณะ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ประเทศไทย พ.ศ. 2558. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. นนทบุรี; 2558
4. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ และคณะ สมาคมระบาดวิทยา (ประเทศไทย). พื้นฐานระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์แคนนา กราฟฟิค. กรุงเทพฯ; 2562
5. Mon TS, Rattanathumsakul T, Khine SK, Than WP, Wahab AB, Tu NH, et al. Field evaluation of malaria surveillance system in Sai Yok District, Kanchanaburi Province, Thailand. OSIR. 2019 Jun;12(2):38-45.
6. British Medical Bulletin, Volume 75-76, Issue 1, 2005, Pages 29–47.//2019.// The treatment of complicated and severe malaria.//สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562,/จาก https://academic.oup.com/bmb/ article/75-76/1/29/333338
7. World Health Organization (WHO).//2012.//Management of severe malaria Third edition.//สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562,/จากhttps://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/79317/978924154 8526_eng.pdf; jsessionid=64504E994ACAAEA55A474011F730133? sequence=1
8. The Severe Malaria Observatory (SMO).//2019.//Differential diagnosis of severe malaria.//สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562,/จาก https://www.severemalaria.org/severe-malaria/diagnosis/differential-diagnosis