การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใยกัญชงเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการเล่าเรื่อง การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใยกัญชงเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการเล่าเรื่อง การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และการส่งเสริมการตลาดดิจิทัลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ฺบงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50230
  • สุชาดา เมฆพัฒน์ ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50230
  • นีรนาท ตาจุมปา ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50230

คำสำคัญ:

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์ใยกัญชง, การเล่าเรื่อง, การออกแบบเชิงสร้างสรรค์, การตลาดดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการกลุ่มหรือการสนทนากลุ่ม ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักวิจัย ผู้แสดงแบบกิตติมศักดิ์ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 48 คน ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใยกัญชงโดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1. การส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ใยกัญชงด้วยการเล่าเรื่อง พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่างใยกัญชง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่อง เพื่อชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นจุดเด่นด้านการเขียนเทียนขี้ผึ้งลวดลายต่างๆ บนผ้าใยกัญชง ของวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เริ่มจากการปลูกต้นกัญชง (หมั้ง) ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวาง  เพื่อสื่อความหมายและที่มาของโลโก้  เป็นรูปคนนั่งทอผ้า มีตัวหนังสือภาษาไทยว่า “ดาวม่าง”  รูปและตัวหนังสือเป็นสีขาว  พื้นหลังเป็นสีกรม รูปคนทอผ้าสื่อถึงว่า กลุ่มทำเกี่ยวกับงานผ้าทอ  ส่วนตัวหนังสือ “ดาวม่าง” คำว่า “ดาว” ผันมาจากภาษาม้งที่ ออกเสียงว่า “ด๊าว” แปลว่า ผ้า  ส่วนคำว่า “ม่าง” เป็นภาษาม้ง แปลว่า กัญชง  ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ที่ 2 การส่งเสริมการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับองค์ความรู้และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 3 กลุ่ม ได้ออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 26 ชุดและนำไปสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อเสื้อผ้าแต่ละชุดในแต่ละประเด็น ดังนี้  1) ประโยชน์ในการใช้สอย 2) ความสวยงาม 3) แนวคิดในการออกแบบที่ดี 4) ตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ และ 5) ราคาสินค้าที่เหมาะสม พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและ ทุกประเด็นอยู่ในระดับมากเช่นกัน  ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 3 ส่งเสริมการตลาดดิจิทัลพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ใยกัญชง จากเดิมที่ใช้เพียงเพจเฟซบุ๊ค เท่านั้น ได้เข้าสู่แพลตฟอร์ม SMEs-OTOP FINVER ระบบการตลาดมหาชนเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยแนวคิด : หมื่นคนแชร์  ล้านคนเห็น  แสนคนซื้อ โดยคนไทย เพื่อคนไทย ในยุคดิจิทัล ช่วยตอบโจทย์การตลาดออนไลน์   หลังจากที่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใยกัญชงเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการเล่าเรื่อง การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และส่งเสริมการตลาดดิจิทัล  สามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น อย่างน้อย 10-20% แม้ต้องประสบกับสถานการณ์  โควิด-19 ช่วงปี พ.ศ. 2564-2565  ทั้งนี้ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใยกัญชง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การทำงานในรูปแบบประชาสังคมคือความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และการประชาสัมพันธ์ ทั้งภาพข่าว คลิปวีดีโอ  ผ่านสื่อมวลชนออนไลน์ที่หลากหลาย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ

References

จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี และคณะ. (2564). การส่งเสริมและพัฒนาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผ้าทอใยกัญชงของวิสาหกิจ

ชุมชน ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอ พบพระ จังหวัดตาก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม 2564)

ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน. (2560). สารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

นรินทร์ สังข์รักษา.(2561). เรื่องเล่า: วิธีวิทยาแนวใหม่ในการแสวงหาความรู้เพื่อการวิจัยทางสังคม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2561)

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ (2564). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566. https://www.prachachat.net/csr-hr/news-604476

สิทธิ์วิสุทธ์ อนันท์นครกุล. (2565). DIGITAL MARKETING คืออะไร? ไม่ใช่นักการตลาดก็เรียนรู้ได้ ! ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม2566. https://www.primal.co.th/th/marketing/what-is-digital-marketing/

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย(องค์การมหาชน).(2564). ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566 https://www.sacit.or.th/th/detail/2021-11-26-09

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อิมธิรา อ่อนคำ. และ Gao Jingjing (2564). วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง : กรณีศึกษาบ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์16 (1) (มกราคม – มิถุนายน 2564)

The Development of Hemp Products by Adding Value through Storytelling, Creative Design and Promoting Digital Marketing of the Hemp Community Enterprise Group, Chiang Mai Province

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2023