Lanna Mental Health Promotion of the Elderly in Saluang Subdistrict Administative Organization, Mae Rim District, ChiangMai Province

Main Article Content

Samart Jitae

Abstract

Abstract


Objectives: to study the lanna mental health promotion of elderly.


Methods:The study was designed by mixed-method research.The sample of this research were 236 households and 17 stakeholder lived  in the area of Saluang Subdistrict Administative Organization, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Questionnaires, informa linterviews and focus group discussion were used as tools for data collection in March 2017. Data were analyzed by descriptive statistics, simple linear regression analysis and content analysis.


Results:The results indicated that the practices were on the modulate level (= 2.18).


Household expenditures,number of family members, supporting community activities and perception of Lanna mental health promotion were statistically significant associated with Lanna mental health promotion.(p <.05). However, social factors such as family support and health service support were positively correlated with the elderly’s mental health promotion behavior.


Conclusion: Lanna mental health promotion reflected the mental health of the elderly under the rule of communities, faith and local resources, but also reflected the mental health empowerment activity of the elderly.


 


Key word: Mental Health Promotion, Lanna wisdom, Elderly


บทคัดย่อ                            


วัตถุประสงค์:ศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุ


วิธีการศึกษา: แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 236 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 17 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสนทนากลุ่ม ช่วง มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษา:ค่าคะแนนเฉลี่ยการสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.18) ปัจจัยรายจ่ายเฉลี่ย  จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน และระดับการรับรู้การสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ทั้งนี้แบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากลุ่มสร้างขวัญกำลังใจ กลุ่มเจริญสติและทำใจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการสร้างเสริมสุขภาพจิต


สรุป:การสร้างเสริมสุขภาพจิตตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเป็นการสะท้อนทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชน ความเชื่อ และทรัพยากรในท้องถิ่นรวมถึงเป็นกิจกรรมในการเสริมพลังอำนาจด้านจิตใจให้กับผู้สูงอายุ 


คำสำคัญ:     การสร้างเสริมสุขภาพจิต   ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา   ผู้สูงอายุ

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)