Effects of Yin Yoga-Based Mindfulness Practice on Anger Among Female Juveniles in the Regional Juvenile Vocational Training Centre Region 7, Chiang Mai Province.

Main Article Content

Jeerawit Jaknissai
Wannipa Bunrayong
Tiam Srikhamjak

Abstract

Objective:  This study aimed to define the effects of Yin Yoga-based mindfulness practice on anger among female juveniles in the Regional Juvenile Vocational Training Centre Region 7, Chiang Mai Province.


 


Materials and methods: This was a pre-experimental design study with a single group that included pre-test and post-test comparison. Ten qualified female juveniles attended Yin Yoga-based mindfulness practice, which comprised 120-minute sessions 10 times for 5 weeks. An anger questionnaire was administered. Data were analyzed by using the Wilcoxon Signed-Rank Test.


 


Result: After completing the program, the average State-Anger (S-Anger) score of the participants was significantly lower than before the program started (P < 0.05). There were no significant differences in the Trait-Anger (T-Anger), Anger-in (AX/In), Anger-out (AX/Out), and Anger-control (AX/Con) between pre and post participation in the program.


 


Conclusion: Yin Yoga-based mindfulness practice affected only the state-anger of the subjects, but did not affect the other components of the anger questionnaire.


 


Keywords: Anger, Yin yoga, Mindfulness, Female juveniles.


 


บทคัดย่อ


 


 


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการฝึกสติตามแนวหยินโยคะต่ออารมณ์โกรธของเยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 จังหวัดเชียงใหม่


 


วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม เปรียบเทียบผลก่อนและหลังโปรแกรมการฝึกสติตามแนวหยินโยคะในกลุ่มตัวอย่างเยาวชนหญิง 10 คน จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 120 นาที เป็นเวลา 5 สัปดาห์ วัดผลโดยใช้แบบประเมินอารมณ์โกรธ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed-Rank Test


 


ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของคะแนนอารมณ์โกรธแบบสภาวะของกลุ่มตัวอย่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมการฝึกสติตามแนวหยินโยคะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมคะแนนอารมณ์โกรธแบบสภาวะมีค่าลดลง ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนอารมณ์โกรธแบบลักษณะ การเก็บอารมณ์โกรธไว้ภายใน การแสดงอารมณ์โกรธออกภายนอก และการควบคุมความโกรธ ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน


 


สรุป: การฝึกสติตามแนวหยินโยคะส่งผลต่ออารมณ์โกรธของกลุ่มตัวอย่างเฉพาะอารมณ์โกรธแบบสภาวะ แต่ไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบอื่นๆ ตามแบบประเมินอารมณ์โกรธ ผู้เกี่ยวข้องในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอารมณ์โกรธได้


 


 


คำสำคัญ: อารมณ์โกรธ, หยินโยคะ, สติ,  เยาวชนหญิง

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)