ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความเครียดจากการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข (Prevalence and Risk Factors of Occupational Stress in Health Care Providers)

Main Article Content

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความเครียดจากการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข

วิธีการวิจัย: รูปแบบเป็นวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสันป่าตอง จำนวน 204 คน  และได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามข้อมูลประเมินงาน และแบบวัดความเครียดสวนปรุง ( SPST-20)  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบทีและการทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ยเท่ากับ 40.12 +10.04 ปี ส่วนใหญ่เพศหญิง (80.4%) สถานะภาพสมรส (61.8%) จบปริญญาตรี (63.2%)  ตำแหน่งงานเป็นเจ้าพนักงานทั่วไป (46.1%) รายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท (54.4%)  ในเรื่องงานพบว่าอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ปริมาณงาน กฎระเบียบที่ทำงาน  ขอบเขตงาน  อิสระในการทำงาน ทักษะในการทำงาน ความถนัดในการทำงาน  ความซับซ้อนในงาน ความเป็นธรรมในการแบ่งงานที่รับผิดชอบ ความเหมาะสมของพื้นที่ทำงาน บรรยากาศในการทำงาน ความก้าวหน้าในงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงาน ความชัดเจนเรื่องนโยบายของผู้บริหาร และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ส่วนความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับดีปานกลางและดีมาก ในเรื่องความเครียดส่วนใหญ่มีความเครียดสูง (41.7%) มีคะแนนเฉลี่ย SPST-20 เท่ากับ 52.33 คะแนน (ช่วงคะแนน 43-62) รองลงมาคือระดับความเครียดปานกลาง (39.7% ) มีคะแนนเฉลี่ย SPST-20 เท่ากับ 34.38 คะแนน  ระดับความเครียดรุนแรง (11.8%) โดยมีคะแนนเฉลี่ย SPST-20 เท่ากับ 86.50 คะแนน และระดับความเครียดน้อย( 6.9%) โดยมีคะแนนเฉลี่ย SPST-20 เท่ากับ 22.86 คะแนน 

สรุป: ความชุกของความเครียดในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข มีค่าเท่ากับ 53.5 % ปัจจัยเสี่ยงต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขได้แก่ รายได้ต่อเดือน กฎระเบียบที่ทำงาน ขอบเขตงาน อิสระในการทำงาน ทักษะในการทำงาน การแบ่งงาน  พื้นที่ทำงาน  บรรยากาศในการทำงาน  ขวัญกำลังใจในงาน และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (P<0.05)

Objective: To study the prevalence and risk factors of occupational stress in health care providers

Methods: This was a cross-sectional study of 204 health care providers of Sanpatong hospital. Data were collected by questionnaires, covering different significant aspects including personal information, occupational factors and stress measure survey based on Suanprung stress test-20 (SPST-20). Data were analyzed by percent, mean, T-test and Chi-square.

Results: Health care providers were 40.12 + 10.04 year old on average. Most of them were female (80.4%), married (61.8%), had a bachelor’s degree (63.2%), held the position of a general staff (63.2%) and had a monthly income more than 20,000 baht (54.4%). Most of the health care providers’ jobs were at the moderate level: workload, work rules, scope of work, work freedom, work skills, work aptitude, work complexity, fairly moderate work responsibilities, workspace, atmosphere of work, work progression, employee morale, transparency of organizational policy and relationship with supervisors. The relationships among co-workers were good to moderate. 41.7% of health care providers had high stress: mean SPST-20 was 52.33 points (score 43-62 points). 39.7% of health care providers had moderate stress: mean SPST-20 was 34.38 points. 11.8% of health care providers had severe stress: mean SPST-20 was 86.50 points. 6.9% of health care providers had mild stress: mean SPST-20 was 22.86 points.

Conclusion: Prevalence of occupational stress in health care providers was 53.5%.Risk factors of occupational stress in health care providers were monthly income, work rules, scope of work, work freedom, work skills, work responsibilities, workspace , atmosphere of work, employee morale and relationships among co-workers with statistical significance at 0.05 (P<0.05)

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Author Biography

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์, โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่