ผลของตัวแบบต่อการลดความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาล ก่อนการศึกษา หลักการและเทคนิคการพยาบาล (Effects of Modeling on Anxiety Reduction among Nursing Students Prior to Taking Principles and Techniques in Nursing Practicum)

Main Article Content

จินตวีร์พร แป้นแก้ว
ชญาณิศา เขมทัศน์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ในรูปของแผ่นแผ่นวีดีทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลก่อนการศึกษาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2  ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่  จำนวน  48  คน  ที่จะเข้าศึกษาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล  ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง 24 คน  กลุ่มควบคุม 24 คน มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดความวิตกกังวลที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น  กลุ่มทดลองได้รับตัวแบบสัญลักษณ์ในรูปของแผ่นแผ่นวีดีทัศน์ 1 เรื่อง  จำนวน 2 ครั้ง  เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้อยู่ในชั่วโมงศึกษาด้วยตนเองเท่านั้น  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ independent t-test

          ผลการศึกษา พบว่าคะแนนความวิตกกังวลของกลุ่มทดลอง  ในระยะหลังการทดลองต่ำกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 (P < .01)  โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง  เท่ากับ 137.45  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.83 และคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลอง เท่ากับ 125.75  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 15.39  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมคะแนนความวิตกกังวลของกลุ่มทดลอง  ในระยะหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  (P < .01) )  โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุม  เท่ากับ 136.25  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 11.68 และคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม เท่ากับ 145.45  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 15.85

          สรุป แผ่นวีดีทัศน์อาจช่วยลดความวิตกกังวลนักศึกษาพยาบาลก่อนการศึกษาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลได้

           This quasi-experimental research aimed to study the effects of the proposed model in the form of VCD. To reduce the anxiety of nursing students first study the principles and techniques of nursing practice. Sample was 48 nursing students in the second year who took a course of principles and techniques in nursing practicum. The sample was randomly assigned into control and experimental groups (24 subjects per group). An anxiety inventory which created by the researcher, was measured before and after the experiment. The experimental group received a symbolic modeling in a form of VCD twice times in one week. The control group did not get any intervention; they only did self-study. Data were analyzed using independent t-test.

             The results of this study found that after the experiment, the anxiety score of the experimental group was statistically significant lower than before the experiment (P <.01); the mean scores of the anxiety before and after the experiment were 137.45 (SD = 11.83) and 125.75 (SD=15.39), respectively. After the experiment, the anxiety of the experimental group was statistically significant lower than the control group (P <.01); the mean scores of the anxiety in the experimental group and the control group were 136.25 (SD=11.68) and 145.45 (SD=15.85), respectively.

          Conclusion : VCD may reduce the anxiety of nursing students before study the principles and techniques of nursing practice

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Author Biographies

จินตวีร์พร แป้นแก้ว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่; พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

ชญาณิศา เขมทัศน์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่; พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ