ผลของกระบวนการเสริมพลังอำนาจร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมไม่ได้ ณ โรงพยาบาลแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จิรสุดา ห้อยยี่ภู่

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเสริมพลังอำนาจร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ออน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประกอบด้วย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การคลายเครียด การรักษาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมการเสริมพลังอำนาจร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ และรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired T-test

          ผลการศึกษา พบว่า คะแนนรวมพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเสริมพลังอำนาจ และการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ 

           The purpose of this quasi experimental study was to study the outcome of applying empowerment process with motivational interviewing on self care behavior change for patients with uncontrolled diabetes mellitus. The sample group consisted of 30 diabetic persons in the Diabetic clinic Mae-on hospital. Data were collected using questionnaires on self care behavior regarding food consumption behavior, physical exercises, rest, relaxation, continual health care, activities of the empowerment process with motivational interviewing. Collected data were analyzed using descriptive statistics and paired T-tests.

         The study found that the total self care behavior points after the empowerment process and motivational interviewing on self care behavior changes are higher than those before the empowerment process at a statistically significant level of .01. In addition, this study has created self care behavior changes in uncontrolled diabetic patients

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Author Biography

จิรสุดา ห้อยยี่ภู่, กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลแม่ออน

กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลแม่ออน; พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ