ประสบการณ์ทางด้านจิตใจของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อการเปิดเผยตนเองของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน (Psychological Experiences of Family Members Following the Outness of Persons with Homosexual Orientation)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของสมาชิกครอบครัวภายหลังการเปิดเผยตนเองของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดของผู้ที่มีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกันจำนวน 7 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบ 4 ประเด็นหลักคือ (1) เมื่อเริ่มรับรู้ว่าคนในบ้านมีความโน้มเอียงทางเพศแบบรักเพศเดียวกัน ได้แก่ จุดเริ่มต้นในการรับรู้ถึงความโน้มเอียงทางเพศของสมาชิกครอบครัว ความรู้สึกไม่อยากเชื่อหรือนึกไม่ถึงเมื่อสมาชิกเปิดเผยตนเอง ความรู้สึกความคิดและการแสดงออกเมื่อเริ่มแน่ใจว่าสมาชิกครอบครัวรักเพศเดียวกัน และการตระหนักถึงกรอบความคิดความเชื่อของตนเองเกี่ยวกับการรักเพศเดียวกัน (2) สิ่งที่เกิดขึ้นภายในตนเองภายหลังการเปิดเผยตนเองของสมาชิกครอบครัว ได้แก่ การต่อรองทางความคิด ความขัดแย้งในตนเอง ความรู้สึกห่างเหิน และการต่อสู้กับความคิดความเชื่อเดิมและปรับมุมมอง (3) ปัจจัยที่เอื้อไปสู่การยอมรับความโน้มเอียงทางเพศของสมาชิกครอบครัว ได้แก่ การได้รู้จักคนรักของสมาชิกครอบครัว การเปิดใจ ขยายมุมมองและความเข้าใจต่อสมาชิกครอบครัว การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของสมาชิกครอบครัว และการตระหนักรู้ว่าการรักเพศเดียวกันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้ว (4) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการยอมรับความโน้มเอียงทางเพศมเอียงทางเพศ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในตนเอง และการเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัวโดยรวม
This study aimed to examine the psychological experiences of family members in the coming out of persons with homosexual orientation. Key informants were 7 persons who had at least one family member who was gay or lesbian and the acceptance of this family member was required. Data were collected by in-depth interview and analyzed by using consensus qualitative research method. The results reveal four domains: (1) Beginning to know the family member’s homosexual orientation (2) Experiences of internal conflicts (3) Factors conducting to the acceptance of the family member’s homosexual orientation (4) Changes after acceptance. These research findings could be applied to better understand the family’s problems during the coming out process and provide proper psychological services for family members
Article Details
บทความหลังผ่านการปรับแก้จากกองบรรณาธิการแล้ว เป็นลิขสิทธ์ของวารสารจิตเวชวิทยาสาร โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ห้ามเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่อนุญาตให้เผยแพร่บทความดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสวนปรุง