การฟื้นคืนได้ในแม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัดเชียงใหม่;Resilience among Adolescent Mothers with Unplanned Pregnancy in Chiang Mai

Main Article Content

Nilubon Sukawanich
Kulvadee Thongpibul
Araya Pontanya

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นคืนได้ และเพื่ออธิบายกระบวนการในการพัฒนาการฟื้นคืนได้ของแม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัดเชียงใหม่

วิธีการ เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึก จำนวน 6 ราย โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษาเฉพาะกรณี และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล

ผลการวิจัย ปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นคืนได้ มีดังนี้ 1) คุณลักษณะฉันมี ประกอบด้วย ได้รับความรัก ความอบอุ่น การยอมรับจากครอบครัว ครู เพื่อน 2) คุณลักษณะฉันเป็น ประกอบด้วย มีพื้นฐานอารมณ์ที่ดี สามารถรักเห็นอกเห็นใจและให้ความเอื้อเฟื้อผู้อื่น ภูมิใจในตนเอง มีความหวังศรัทธาและเชื่อมั่น               3) คุณลักษณะฉันสามารถ ประกอบด้วย มีทักษะในการแก้ปัญหา เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น 4) ความเป็นแม่ ในส่วนของกระบวนการในการพัฒนาการฟื้นคืนได้ เมื่อกรณีศึกษาเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปัจจัยปกป้องภายในปัจเจกบุคคล ปัจจัยปกป้องในครอบครัว และปัจจัยปกป้องในชุมชนจะแสดงออกมาเพื่อลดผลกระทบทางลบของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมร่วมกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นคืนได้ ผู้เข้าร่วมการวิจัยจึงสามารถก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถเกิดการปรับตัวทางบวก และสามารถเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและการเชื่อในความสามารถของตนเองได้

สรุป ผู้เข้าร่วมการวิจัยอาศัยปัจจัยปกป้องและปัจจัยที่ทำให้เกิดการฟื้นคืนได้ ในกระบวนการในการพัฒนาการฟื้นคืนได้ จนสามารถปรับตัวทางบวกได้หลังจากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

คำสำคัญ: การฟื้นคืนได้, แม่วัยรุ่น, การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

Abstract

Objectives: To identify the factors that fostered resilience and to illustrate the process of resilience development among adolescent mothers with unplanned pregnancy in Chiang Mai.

Method: In-depth study with 6 participants selected by purposive selection.This was a qualitative research by case study approach and in-depth interview was the research instrument to collect data.

Results: Factors fostering resilience were as follows: 1) I HAVE which consisted of receiving love, warmth and acceptance from family, teachers and friends. 2) I AM which consisted of good temperament, ability to express love, empathy and mercy to others, self-pride, hope, faith and confidence. 3) I CAN which consisted of problem-solving skills, understanding of self's and others' emotions and feelings. 4) Motherhood. The process of resilience development occurred when the participants confronted adversity from unplanned pregnancy; individual protective factors, family protective factors and community protective factors were revealed to reduce negative effects from unplanned pregnancy and collaborated with factors fostering resilience. As a result, participants were able to overcome adversity, had positive adaption and established self-esteem and self-efficacy. 

Conclusion: Participants used protective factors and factors fostering resilience in the process of resilience development. And were capable of positive adaption after unplanned pregnancy.

Keywords: Resilience, Adolescent mothers, Unplanned pregnancy

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)