Hyperprolactinemia: A Relevant Issue that Mental Health and Psychiatric Nurses should not Overlook
Main Article Content
Abstract
Hyperprolactinemia induced by anti-psychotic drugs as a consequence of dopamine receptor blockage.
Hyperprolactinemia is a common side effect in psychiatric patients who are treated with typical antipsychotic drugs and some atypical antipsychotic drugs. This condition affects the patients’ health, both short and long term. The short-term effects include fertility problem and sexual dysfunction. Long-term effects involve reduced bone mineral density or fractures, risk of breast and endometrial cancer, and cardiovascular system diseases.
Although common, surveillance systems of hyperprolactinemia in psychiatric patients by especially mental health professionals and psychiatric are few. Preventing and reducing the risk of hyperprolactinemia induced by antipsychotic drugs, following both short-term and long-term effects are strongly recommended. Moreover, mental health and psychiatric nurses should increase awareness and understanding of the effects of antipsychotic drugs induced hyperprolactinemia to promote the quality of life of psychiatric patients and their families continuously.
Keyword: Hyperprolactinemia, Antipsychotic drugs, Psychiatric nursing
บทคัดย่อ
ยาต้านโรคจิตทำให้เกิดภาวะโปรแลกตินสูงได้ เพราะเกิดจากการยับยั้งการทำงานของโดปามีน รีเซบเตอร์จึงส่งผลทำให้มีการหลั่งโปรแลกตินสูงขึ้น
ภาวะโปรแลกตินสูงเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่าทุกตัวและกลุ่มใหม่บางตัว ซึ่งภาวะนี้มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยผลระยะสั้นที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ ปัญหาทางเพศ และผลระยะยาว ได้แก่ ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง กระดูกพรุน การเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก รวมไปถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
ภาวะโปรแลกตินสูงเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านโรคจิต แต่มีระบบการเฝ้าระวังค่อนข้างน้อย ดังนั้น บุคลากรทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชโดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชจึงควรให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม การป้องกันและลดความเสี่ยงเกี่ยวกับยาต้านโรคจิตที่ทำให้เกิดภาวะโปรแลกตินสูง การติดตามทั้งผลระยะสั้นและผลระยะยาวเป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากนี้ควรเพิ่มความตระหนักและเข้าใจถึงผลกระทบของยาต้านโรคจิตที่ทำให้เกิดภาวะโปรแลกตินสูงในผู้ป่วยจิตเวชด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
คำสำคัญ: ภาวะโปรแลกตินสูง ,ยาต้านโรคจิต ,พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
Article Details
บทความหลังผ่านการปรับแก้จากกองบรรณาธิการแล้ว เป็นลิขสิทธ์ของวารสารจิตเวชวิทยาสาร โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ห้ามเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่อนุญาตให้เผยแพร่บทความดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสวนปรุง