รายงานเบื้องต้น: การพัฒนามาตรวัดภาวะวิกฤตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัยกลางคนฉบับภาษาไทย;Preliminary Validation of a Thai Version of Crisis in Midlife Transition Scale

Main Article Content

Nisanart Ruangdejsiripong
Arunya Tuicomepee

Abstract

 

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนามาตรภาวะวิกฤตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัยกลางคนฉบับภาษาไทย  ที่พัฒนามาจาก ต้นฉบับ Chinese Midlife Crisis Scale C-MCS ของShek1

 

วิธีการ มาตรวัดฉบับภาษาไทยได้รับการแปลและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตวิทยา (Forward Translation) จากนั้นนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างวัยกลางคนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  112 คน  คัดเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก  ตรวจสอบความตรงแบบลู่เข้าด้วยการเปรียบเทียบกับมาตรวัดการรับรู้ความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์หรือนิยาม (IOC: Item Objective Congruence Index)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับคะแนนรวมทั้งชุด (corrected item-total correlation)  วิเคราะห์ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและวิธีวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 

ผล กลุ่มตัวอย่างที่ตอบมาตรวัด มีอายุเฉลี่ย 40.94 + 5.19 ปี   มาตรวัดฉบับภาษาไทย มีความตรงตามเนื้อหาในโดยผู้เชี่ยวชาญตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .83 โดยมีรายด้าน เท่ากับ .76, .73, และ .64 ตามลำดับ และผลการตรวจสอบความตรงแบบลู่เข้า พบว่ามาตรวัดฉบับภาษาไทย รายด้านและทั้งฉบับ  มี ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับมาตรวัดความเครียดในระดับดี (r อยู่ระหว่าง .30 ถึง .83 , p<.01) 

 

สรุป มาตรวัดภาวะวิกฤตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัยกลางคนฉบับภาษาไทย 18 ข้อ มีความตรงและความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ดี

 

คำสำคัญ :   มาตรวัดภาวะวิกฤตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัยกลางคน  ภาวะวิกฤตวัยกลางคน การพัฒนามาตรวัด

 

Abstract

 

      Objective:  To develop a Thai version of Crisis in Midlife Transition Scale from the Chinese Midlife Crisis Scale C-MCS Shek.1

 

      Method: The C-MCS was forward translated into Thai version and validated its content by experts in psychology. Then, the Thai version was tested in 112 middle aged people living in Bangkok Metropolis area.  Convenience sampling was employed. The scale convergent validity was examined using perceived stress scale as a criterion.  Data analysis included descriptive statistics, item objective congruence index, corrected item-total correlation, Cronbach’s  alpha reliability coefficient, and persons correlation coefficient.  

 

      Result: Participants in this study has mean age as of 40.94 + 5.19 years old. According to the experts, the Thai version has acceptable content validity. The scale demonstrated good internal consistency and reliability with Cronbach's alpha as of .83 (.76, .73, and .64 for the subscale respectively). For its convergent validity, the scale has positive and linear correlation with Perceived Stress Scale (r between .30 and.83, p<.01 for the scale and subscales).

 

      Conclusion: The 18-item, Thai version of Crisis in Midlife Transition Scale demonstrated acceptable validity and good reliability. 

 

 

 

Keywords: Midlife transition scale, Scale development , Midlife crisis , Validation

 

 

 

Article Details

Section
Preliminary Report(รายงานเบื้องต้น)