ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และการจัดการปัญหาของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีน ครินทรวิโรฒ;Depression, Stress and coping strategy among Pharmacy Students at Srinakharinwirot University

Main Article Content

Wannakon Chuemongkon
Preeda Rungrattanapongporn
Surapong Chantathamma

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า ความเครียด และประเมินการจัดการปัญหาในนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางในนิสิตเภสัชศาสตร์ทุกชั้นปี ในปีการศึกษา 2558 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ให้นิสิตตอบด้วยตนเอง ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าของ center for epidemiologic studies-depression scale (CES-D) ฉบับภาษาไทย แบบคัดกรองความเครียดของกรมสุขภาพจิต และแบบประเมินการจัดการปัญหาของ the adolescent coping orientation for problem experience (A-COPE)

ผล: มีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 414 คน ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 23.2 โดยนิสิตส่วนมากมีระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่พบนิสิตร้อยละ 3.9 ที่มีความเครียดในระดับสูงมาก วิธีการจัดการปัญหาที่นิสิตส่วนใหญ่เลือกใช้มากที่สุด คือ วิธีอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนสนิท

สรุป: นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 23 และส่วนมากมีความเครียดอยู่ในระดับปกติ

คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า ความเครียด การจัดการปัญหา นิสิตคณะเภสัชศาสตร์

Objectives: To explore the prevalence of depression, stress and coping experience of pharmacy students atSrinakharinwirot University.Materials and methods: The cross-sectional descriptive study in all class years of pharmacy students was performed in academic year 2015. Data were collected using self-report questionnaires including: general identification data, the Thai version of center for epidemiologic studies-depression scale (CES-D), stress screening of department of mental health, and the adolescent coping orientation for problem experience (A-COPE).Results: 414 pharmacy students participated in this study. The prevalence of depression were 23.2%. Most participants had normal level of stress. However, the high level of stress was found in 3.9%. The most frequently used coping strategy was being with a close friend.Conclusion: The prevalence of depression in pharmacy students at Srinakharinwirot University were 23%. Most of them had normal stress.

Keywords: Depression, Stress, Coping, Pharmacy students

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Author Biography

Wannakon Chuemongkon, Department of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University

Assist.Prof.Wannakon Chuemongkon, B.Pharm., M.Sc. (Clinical Pharmacy)
Department of Clinical Pharmacy
Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University