ปัจจัยและรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบ ‘Practice Reinforcement and Multimedia’ (PRM)

Main Article Content

ดารเนตร สิทธิหาญ
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา

Abstract

การวิจัยแบบการสำรวจภาคตัดขวางมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือครู จำนวน 74 คน จาก 74 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามการวิจัยแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.867 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.992 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณแบบเพิ่มหรือลดตัวแปรเป็นขั้นๆ  ถึงความสำคัญของปัจจัยและอิทธิพลขององค์ประกอบปัจจัยการฝึกปฎิบัติ ปัจจัยการเสริมแรง และปัจจัยสื่อมัลติมีเดีย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่ส่งผล มากที่สุด ในส่วน การเสริมแรง คือเกมเล่นหาคำศัพท์ ส่วนสื่อมัลติมีเดีย คือ สื่ออ่านบทสนทนา ส่วน การฝึกปฏิบัติ คือ การฝึกอ่านออกเสียง 

สรุป
ปัจจัยที่มีผลต่อการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบ PRM ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มากที่สุด คือ การเสริมแรง การฝึกปฏิบัติ และสื่อมัลติมีเดีย ตามลำดับ

The Factor that efficienced English Teaching based on ‘Practice Reinforcement and Multimedia’ (PRM) model

This cross sectional survey research aimed to study the factors forecast and the patterns of teaching English on learning and teaching English  for grade 5 students in a school under the jurisdiction of an administrative organization  in Chiang Mai. The population consisted of  74  English teachers from private and state primary schools in the District and Local school of Chiang Mai. The research questionnaire had a 5 level rating scale 5 with a content validity of 0.867 and reliability of 0.992. We collected information and analyzed the data by using statistical software to find the mean, standard deviation, correlation and coefficient. Multiple regression analysis and  reduced variables between by studying the importance of factors and influences of the factors consisted of practice , reinforcement and multimedia .The results of this study showed that the factors that effected most on English teaching based on ’ PRM’ for students grade 5 ,were  reinforcement ,practice and multimedia  respectively. From  reinforcement  factor , finding words game was most effected. From multimedia factor, reading conversation media was most effected. From practice factor , read aloud training was most effected.
Conclusion

The factors that effected most on English teaching based on ‘PRM’ for students grade 5, were reinforcement, practice and multimedia  respectively.


Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)