ภาวะเกลือแร่ผิดปกติในผปู้่วยติดสรุา
Main Article Content
Abstract
ภาวะเกลือแร่ผิดปกติพบได้บ่อยในผู้ป่วยติดสุราเรื้อรัง วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อหา ความชุกของภาวะเกลือแร่ในเลือดที่ผิดปกติในผู้ป่วยติดสุรา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดสุรา อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสวนปรุง ช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2557 ทุกคนได้รับการซักประวัติการเจ็บป่วยที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตรวจหาระดับเกลือแร่ในเลือดในวันแรกที่เข้ารับการรักษา คำนวณหาภาวะผิดปกติของเกลือแร่โดยใช้สถิติพรรณนา ทดสอบความแตกต่างระหว่างระดับเกลือแร่และตัวแปรกลุ่มอายุ และการมีโรคร่วมด้วยสถิติไคว์สแคว์ ที่ค่า p< 0.05 ผลการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 293 ราย เป็นชาย 94.5% อายุเฉลี่ย 44.0+ 10.6 ปี พบว่าจำนวน 27.6% มีโรคร่วมทางกายหรือทางจิตเวชอย่างน้อย 1 โรค การมีหรือไม่มีโรคร่วมในแต่ละกลุ่มอายุไม่มีผลต่อผลภาวะเกลือแร่ที่ผิดปกติ(p<.05) เกือบทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง 99.3% มีภาวะผิดปกติของเกลือแร่อย่างน้อย 1 ชนิด โดย 31.1% มีภาวะเกลือแร่ผิดปกติ 4 ชนิด, 26.6% เกลือแร่ผิดปกติ 5 ชนิด และ 18.1% ผิดปกติ 6 ชนิด กลุ่มตัวอย่างมีระดับโปแตสเซียม, แมกนีเซียม, แคลเซียม, โซเดียม, ฟอสเฟต และคลอไรด์ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมีจำนวนตามลำดับดังนี้ คือ 38.2%, 24.3%, 51.5%, 9.3%, 18.4% และ 13.7% ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าภาวะเกลือแร่ผิดปกติพบได้บ่อยในผู้ป่วย ติดสุราคนไทย ส่วนมากมีภาวะขาดเกลือแร่โดยเฉพาะแคลเซียม โปแตสเซียม และ แมกนีเซียม ในขณะที่ภาวะเกลือแร่เกินพบได้น้อยมาก
Electrolyte Abnormalities in Alcohol Dependent Patients
Electrolyte abnormalities are common in chronic alcoholics. The aim of this study was to establish prevalence of electrolyte disturbances in alcohol dependent patients, 20 or more years, admitted to Suanprung Hospital during May – October 2014. Demographic data and present illness of all subjects were recorded. Blood electrolyte levels and biochemical values were investigated on the first day of admission. The frequency of serum electrolytes abnormalities was calculated using descriptive statistics. The statistical analysis of their tendency in different groups was performed using chi square test. The difference of results was evaluated as significant, when p< 0.05.In 293 subjects, 94.5% were male. Their age ranged between 24-88 years (mean age 44.0+ 10.6 years), and 27.6% had 1-3 co morbidities. There were not significantly different electrolyte abnormalities between patients with or without co morbidities and age groups. At least 1 electrolyte abnormality was observed in 99.3% cases. 31.1% cases of 4 electrolytes imbalance, 26.6% cases of 5 electrolytes imbalance and 18.1% cases of 6 electrolytes imbalance for the same patient were established. The frequent blood plasma potassium (K), magnesium (Mg), sodium (Na), calcium (Ca), phosphate (P) and chloride (Cl) in low level were observed in 38.2%, 24.3%, 9.3%, 51.5%, 18.4% and 13.7%, respectively, Our study found that electrolyte abnormalities were common in Thai alcohol dependent patients. The most frequent electrolyte disturbances found were low levels, especially calcium, potassium and magnesium whereas high levels were observed quite rarely.
Article Details
บทความหลังผ่านการปรับแก้จากกองบรรณาธิการแล้ว เป็นลิขสิทธ์ของวารสารจิตเวชวิทยาสาร โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ห้ามเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่อนุญาตให้เผยแพร่บทความดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารสวนปรุง