ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์

Main Article Content

รจนพรรณ นันทิทรรภ

Abstract

วัตถุประสงค์

1) เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยโรคทางกายระหว่างรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์

2) เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคทางกายระหว่างรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์

3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคทางกาย

วิธีการศึกษา เป็นการสำรวจภาคตัดขวางสัมภาษณ์ผู้ป่วยจำนวน250คน ด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าMADRS-Tและแบบสัมภาษณ์ Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) ฉบับภาษาไทยในส่วนที่ประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(Major depressive  disorder)เป็นไปตามเกณฑ์วินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน(DSM-IV TR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ร้อยละ  คำนวณหาprevalence rate ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อความเสี่ยงฆ่าตัวตายโดยใช้สถิติ chi-square และคำนวณค่าความสัมพันธ์ odds ratio โดยสถิติunivariate logistic regression

ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัย250คน ชาย125คน หญิง125คน ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายร้อยละ36.4 ความชุกภาวะซึมเศร้าร้อยละ25.6 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงการฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะซึมเศร้า (OR8.25, 95%CI 4.29-15.89  )  สถานภาพหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่(OR4.62, 95%CI 1.30-16.34 ) ประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายพบสาเหตุของการมีความคิดฆ่าตัวตายหลายสาเหตุร้อยละ38.9และร้อยละ61.1พบสาเหตุของการมีความคิดฆ่าตัวตายหนึ่งสาเหตุ

สรุป  ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลนครพิงค์ค่อนข้างสูง และสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ผู้ที่เกี่ยวข้องควรตระหนักและตื่นตัวในการหาแนวทางป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาล 

Suicidal Risk among Patients from the Internal Medicine ward of Nakornping Hospital

Abstract

Objectives:

1)To study suicidal risk among patients from the internal medicine ward at Nakornping Hospital;

2) To determine prevalence of Major Depressive Disorder of  patients from the internal medicine ward during admission at Nakornping Hospital;

3) To study factors  correlated to suicidal risk of patients from the internal medicine ward.

Method:  This study was a cross-sectional survey of inpatients of the internal medicine ward  at Nakornping Hospital. Data was collected by interviewing inpatients and MADRS-T was used for diagnosis Major Depressive Disorder. Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I) Thai version was used to evaluated suicidal risk. Diagnosis of Major Depressive Disorder was made according to DSM-IV TR. Data were statistically analyzed in terms of frequency distribution, percentage. Chi-square tests were used to determine independent associated factors of suicide. Univariate logistic regression were used to analyzed odd ratios.

Results:  250 patients participated in this study (125 males and 125females). The suicidal risk was 36.4%. Prevalence of Major Depressive Disorder in patients from the internal medicine ward was 25.6%.Factor associated with suicide were depression(OR 8.25,95%CI 4.29-15.89)and widow/divorced/separated status(OR 4.62,95%CI 1.30-16.34). In suicidal risk group, there were 61.1% for single suicidal reason and the remaining for several reasons in suicidal reasons.

Conclusion : Suicidal risk among patients from the internal medicine ward was high and related to depression. Participants should be aware and alert to prevent suicide in their hospitals.

 

Article Details

Section
Original article (นิพนธ์ต้นฉบับ)