ปัจจัยทางคลินิกและปริมาณรังสีที่มีผลต่อความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติในโรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, ให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี, การฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติ, ความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:
เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกและปัจจัยด้านรังสีที่มีผลต่อการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาตั้งแต่ระดับสองขึ้นไปในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติ
รูปแบบและวิธีวิจัย:
เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-31 ธันวาคม 2565 คำนวนขนาดตัวอย่างทั้งหมด 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ผู้ที่เกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยา (Toxicity≥G2) จำนวน 42 ราย และกลุ่มไม่เกิด (Toxicity<G2) จำนวน 42 ราย สุ่มเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และเก็บข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ภาพการฉายรังสี และข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก (logistic regression)
ผลการศึกษา:
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด 84 ราย แบ่งเป็น Toxicity<G2 42 ราย และ Toxicity≥G2 42 ราย พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในตัวแบบสุดท้าย ได้แก่ V10 of Bony Pelvis (%) ที่ 97.9±0.29 (Adj. OR=1.34; 95%CI: 1.04-1.72), Hemoglobin pretreatment value ที่ 11.3±0.2 (Adj. OR=0.49; 95%CI: 0.31-0.78)
สรุปผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่มีค่า V10 of Bony Pelvis (%) ที่ 97.9±0.29 และ Hemoglobin pretreatment value ที่ 11.3±0.2 มีความเสี่ยงในการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติ ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงอาจได้รับประโยชน์ในการพิจารณาปรับเทคนิคการฉายรังสีเป็นแบบปรับความเข้ม เพื่อลดโอกาสเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาได้ในอนาคต
References
Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, ****** RL, Torre LA, Jemal A. สถิติมะเร็งทั่วโลก 2018: การประมาณอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็ง 36 รายใน 185 ประเทศโดย GLOBOCAN CA ****** J Clin 2018; 68 (6): 394–424.
Pecorelli S, ******** L, Odicino F. การจัดระยะ FIGO ใหม่สำหรับมะเร็งปากมดลูก *** J GynaecolObstet2009;105:107–8.
Morris M, Eifel PJ, Lu J, ******* PW และคณะ การฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานร่วมกับเคมีบำบัดเปรียบเทียบกับการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานและพาราเอออร์ติกสำหรับมะเร็งปากมดลูกที่มีความเสี่ยงสูง N Engl J Med 1999;340:1137–43.
**** HM, ***** BN, ******* ** และคณะ เปรียบเทียบซิสแพลติน การฉายรังสี และการผ่าตัดมดลูก แบบแอดจูแวนต์กับการฉายรังสีและการผ่าตัดมดลูกแบบแอดจูแวนต์สำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะ IB ที่มีขนาดใหญ่ ***** J Med 1999;340:1156–61
Whitney CW, Sause W, Bundy ** และคณะ การเปรียบเทียบแบบสุ่มระหว่างฟลูออราซิลร่วมกับซิสแพลตินกับไฮดรอกซีอูเรียเป็นยาเสริมการฉายรังสีในมะเร็งปากมดลูกระยะ IIB-IVA ที่มีต่อมน้ำเหลืองพาราเอออร์ตาเป็นลบ: การศึกษาโดย Gynecologic ******** Group และ Southwest Oncology Group J Clin Oncol 1999;17:1339–48
Peters 3** WA, Liu PY, Barret 2nd RJ และคณะ การให้เคมีบำบัดและการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานร่วมกันเมื่อเปรียบเทียบกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวเป็นการรักษาเสริมหลังการผ่าตัดแบบรุนแรงในมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นที่มีความเสี่ยงสูง J **** Oncol 2000;18:1606–13.
Rose PG, Bundy BN, Watkins ** และคณะ การฉายรังสีและเคมีบำบัดร่วมกับซิสแพลตินสำหรับมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามเฉพาะที่ N **** *** 1999;340:1144–53.
******* RM, Pajak TF, ***** K และคณะ อิทธิพลของเวลาในการรักษาต่อผลลัพธ์ของมะเร็งเซลล์สความัสของปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี: การศึกษารูปแบบการดูแล *** J ****** Oncol Biol **** 1993;25:391–406.
********** N, Gondi V, Sklenar ** และคณะ ผลของระยะเวลาการรักษาในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดและรังสีร่วมกันสำหรับมะเร็งปากมดลูก *** ****** Oncol **** Phys 2013;86:562–8.
Atkinson H. การกระจายของไขกระดูกเป็นปัจจัยในการประมาณรังสีไปยังอวัยวะสร้างเลือด: การสำรวจความรู้ในปัจจุบัน J **** Radiol **** 1962;6:149–54.
********** C, Constine 3rd LS. ความขัดแย้งในรูปแบบและกลไกของการสร้างไขกระดูกใหม่หลังการฉายรังสี I. ปริมาตรและปริมาณรังสีที่แตกต่างกัน ********* Oncol 1984;2:215–25.
Gay HA, ******** HJ, O'***** E, ** al. แนวทางการปรับรูปร่างเนื้อเยื่อปกติของอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง **** Int J Radiat Oncol **** Phys 2012;83:e353–62.
Brixey CJ, ****** JC, ***** AE และคณะ ผลกระทบของการฉายรังสีแบบปรับความเข้มข้นต่อความเป็นพิษเฉียบพลันต่อเม็ดเลือดในสตรีที่มีมะเร็งทางนรีเวช Int J ****** ***** Biol Phys 2002;54:1388–96.
Avinash HU, Arul TR, ****** MG และคณะ การเปรียบเทียบปริมาณรังสีและทางคลินิกล่วงหน้าของความเป็นพิษเฉียบพลันต่อเม็ดเลือดในการรักษาด้วยรังสีแบบสามมิติและแบบปรับความเข้มข้นร่วมกับเคมีบำบัดในมะเร็งปากมดลูก J Can Res Ther2015;11:83–7.
Chang Y, Yang ZY, Li GL และคณะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสีในไขกระดูกกับความเป็นพิษต่อเม็ดเลือดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก Int J Gynecol ****** 2016;26:770–6.
Bosque MÁS, Cervantes-Bonilla MÁ, Palacios-Saucedo GDC. ปัจจัยทางคลินิกและปริมาณรังสีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเป็นพิษต่อเม็ดเลือดในมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามในบริเวณที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและการฉายรังสีแบบ 3 มิติ *** Pract Oncol Radiother. 2018;23(5):392-397. doi:10.1016/j.rpor.2018.07.011
Albuquerque K, Giangreco D, ******** C, et al. ตัวทำนายที่เกี่ยวข้องกับการฉายรังสีของความเป็นพิษต่อเม็ดเลือดหลังจากการฉายรังสีเคมีบำบัดพร้อมกันสำหรับมะเร็งปากมดลูกและผลที่ตามมาสำหรับการทำ IMRT ในอุ้งเชิงกรานโดยไม่ใช้ไขกระดูก *** ****** Oncol Biol Phys 2011;70:1043–7.
******** JE, Itri LM. โรคโลหิตจางที่เกิดจากเคมีบำบัดในผู้ใหญ่: อุบัติการณ์และการรักษา J **** Cancer Inst. 1999 ต.ค. 6;91(19):1616–34.
Dunst J, ***** T, ******* HG, ****** U, Pelz T, Koelbl H, et al. โรคโลหิตจางในมะเร็งปากมดลูก: ผลกระทบต่อการอยู่รอด รูปแบบการกำเริบของโรค และความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนและการสร้างหลอดเลือดใหม่ Int J Radiat Oncol Biol Phys. 2003 1 ก.ค.;56(3):778–87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ