ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงการระบาดของโอไมครอนของโรงพยาบาลนครพนม, ประเทศไทย: การศึกษาแบบ Test-negative design

ผู้แต่ง

  • สุริยา เนาศรี
  • เกรียงไกร ประเสริฐ
  • ปราบดา ประภาศิริ
  • รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, วัคซีน, โควิด-19, Test-negative design

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 การศึกษาแบบ Test-negative design (TND) ได้มีการนำมาใช้ประเมินประสิทธิผลของวัคซีนอย่างแพร่หลาย เพื่อหาข้อมูลนำไปใช้ในการตัดสินใจในทางสาธารณสุขในสถานการณ์ปัจจุบัน

วิธีการศึกษา: การวิเคราะห์ประสิทธิผลของวัคซีนจากฐานข้อมูลของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนมที่มีอาการและได้รับการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด-19 ด้วยวิธีการ RT-PCR (Real-time Reverse Transcription Polymerase Chain Reaction) ด้วยรูปแบบ Test-negative design เพื่อเปรียบเทียบโอกาสของการทดสอบพบเชื้อก่อโควิด-19 ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนและไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หาค่าประสิทธิผลของวัคซีนจากสูตร VE (vaccine effectiveness) = (1 - adjusted odds ratio) x 100 โดยมีการควบคุมตัวแปรกวนด้วยใช้ ค่าคะแนนความโน้มเอียงแบบถ่วงน้ำหนักวัคซีน (weighting propensity score) หาค่า VE ตามจำนวนการได้รับวัคซีน และชนิดวัคซีนที่ได้รับ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05

ผลการศึกษา: ช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (มกราคม 2565 - กันยายน 2566) มีจำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนมและได้รับการตรวจ RT-PCR จำนวน 44,714 ราย ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด จำนวน 18,261 ราย (41%) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (60%) มีอายุเฉลี่ย 43 ปี มีโรคประจำตัว 12% ผล RT-PCR พบเชื้อ SARS-CoV-2 จำนวน 10,166 ราย (23%) ในกลุ่มนี้ได้รับวัคซีน 71% และไม่พบเชื้อ 34,548 คน ในกลุ่มนี้ได้รับวัคซีน 81% ผู้ที่ได้รับวัคซีนจำนวน 4 เข็ม พบค่าประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคได้มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 3 เข็มลงมา มีค่า VE = 72% (95% confidential interval, CI; 70%, 73%) และพบค่ามากกว่าในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุ 18-59 ปี ค่า VE = 83% (95% CI; 77%, 87%) และ 70% (95% CI; 68%, 82%) ตามลำดับ ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นชนิดเดียวกัน และต่างชนิด มีประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อน้อยกว่า 50% ขณะที่วัคซีนเข็มกระตุ้นที่เป็นเชื้อตายมีประสิทธิผลของวัคซีนที่สูงอยู่ 62%

สรุป: การรับวัคซีนในจำนวนที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้สูงขึ้น โดยเฉพาะการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตควรมีการศึกษาเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อให้เห็นประสิทธิผลของวัคซีนหลายรูปแบบ

References

Organization WH. How a Strong Health System Fights a Pandemic. COVID-19: WHO’s Action in Countries 2020 [cited 2024 4 March]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/thailand-how-a-strong-health-system-fights-a-pandemic.

Organization WH. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard with Vaccination Data. World Health Organization 2023 [cited 2024 4 March]. Available from: https://data.who.int/dashboards/covid19/cases?n=c.

Andrews, N., Stowe, J., Kirsebom, F., Toffa, S., Rickeard, T., Gallagher, E., Lopez Bernal, J. (2022). Covid-19 Vaccine Effectiveness against the Omicron (B.1.1.529) Variant. N Engl J Med, 386(16), 1532-1546. doi:10.1056/NEJMoa2119451

Andrews, N., Tessier, E., Stowe, J., Gower, C., Kirsebom, F., Simmons, R., Lopez Bernal, J. (2022). Duration of Protection against Mild and Severe Disease by Covid-19 Vaccines. N Engl J Med, 386(4), 340-350. doi:10.1056/NEJMoa2115481

Namwat, C., Praphasiri, P., Pittayawonganon, C., Prasert, K., Nakphook, S., Thantithaveewat, T., Iamsirithaworn, S. (2023). Results and Policy Implications of a COVID-19 Vaccine Post-introduction Evaluation in Thailand, May 2022. Outbreak, Surveillance, Investigation & Response (OSIR) Journal, 16(3), 170-173. doi:10.59096/osir.v16i3.264236

Organization WH. COVID-19 Vaccine Tracker: Thailand. World Health Organization; 2022 [cited 2024 4 March]. Available from: https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/.

Sadoff, J., Gray, G., Vandebosch, A., Cardenas, V., Shukarev, G., Grinsztejn, B., Group, E. S. (2021). Safety and Efficacy of Single-Dose Ad26.COV2.S Vaccine against Covid-19. N Engl J Med, 384(23), 2187-2201. doi:10.1056/NEJMoa2101544

Mathieu, E., Ritchie, H., Ortiz-Ospina, E., Roser, M., Hasell, J., Appel, C., Rodes-Guirao, L. (2021). A global database of COVID-19 vaccinations. Nat Hum Behav, 5(7), 947-953. doi:10.1038/s41562-021-01122-8

Natalie E., J. W., Mireille E. Schnitzer. (2021). Covid-19 Vaccine Effectiveness and the Test-Negative Design. N Engl J Med, 385(15), 1429-1430. doi:10.1056/NEJMe2114651

Sullivan, S. G., Feng, S., & Cowling, B. J. (2014). Potential of the test-negative design for measuring influenza vaccine effectiveness: a systematic review. Expert Review of Vaccines, 13(12), 1571–1591. https://doi.org/10.1586/14760584.2014.966695

Sullivan, S. G., Tchetgen Tchetgen, E. J., & Cowling, B. J. (2016). Theoretical Basis of the Test-Negative Study Design for Assessment of Influenza Vaccine Effectiveness. Am J Epidemiol, 184(5), 345-353. doi:10.1093/aje/kww064

Evans, S. J. W., & Jewell, N. P. (2021). Vaccine Effectiveness Studies in the Field. N Engl J Med, 385(7), 650-651. doi:10.1056/NEJMe2110605

Lewnard, J. A., Patel, M. M., Jewell, N. P., Verani, J. R., Kobayashi, M., Tenforde, M. W., Lopman, B. A. (2021). Theoretical Framework for Retrospective Studies of the Effectiveness of SARS-CoV-2 Vaccines. Epidemiology, 32(4), 508-517. doi:10.1097/ede.0000000000001366

Thompson, M. G., Stenehjem, E., Grannis, S., Ball, S. W., Naleway, A. L., Ong, T. C., Klein, N. P. (2021). Effectiveness of Covid-19 Vaccines in Ambulatory and Inpatient Care Settings. N Engl J Med, 385(15), 1355-1371. doi:10.1056/NEJMoa2110362

Lewnard, J. A., Tedijanto, C., Cowling, B. J., & Lipsitch, M. (2018). Measurement of Vaccine Direct Effects Under the Test-Negative Design. Am J Epidemiol, 187(12), 2686-2697. doi:10.1093/aje/kwy163

Nittayasoot, N., Suphanchaimat, R., Thammawijaya, P., Jiraphongsa, C., Siraprapasiri, T., Ploddi, K., Tharmaphornpilas, P. (2022). Real-World Effectiveness of COVID-19 Vaccines against Severe Outcomes during the Period of Omicron Predominance in Thailand: A Test-Negative Nationwide Case-Control Study. Vaccines (Basel), 10(12). doi:10.3390/vaccines10122123

Zeng, T., Lu, Y., Zhao, Y., Guo, Z., Sun, S., Teng, Z., Zhao, S. (2023). Effectiveness of the booster dose of inactivated COVID-19 vaccine against Omicron BA.5 infection: a matched cohort study of adult close contacts. Respir Res, 24(1), 246. doi:10.1186/s12931-023-02542-y

Schnitzer, M. E. (2022). Estimands and Estimation of COVID-19 Vaccine Effectiveness Under the Test-Negative Design: Connections to Causal Inference. Epidemiology, 33(3), 325-333. doi:10.1097/EDE.0000000000001470

Sritipsukho, P., Khawcharoenporn, T., Siribumrungwong, B., Damronglerd, P., Suwantarat, N., Satdhabudha, A., Tantiyavarong, P. (2023). Real-life effectiveness of COVID-19 vaccine during the Omicron variant-dominant pandemic: how many booster doses do we need? Emerg Microbes Infect, 12(1), 2174779. doi:10.1080/22221751.2023.2174779

เกรียงไกร ประเสริฐ, สุทธิชัย นักผูก, สุริยา เนาศรี, ณิชารีย์ บำเพ็ญศิลป์, กัลยา ศรวงค์, ณัฎฐ์ฏาพร ศรีประดิษฐ์. (2565). ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในช่วงการระบาดของเดลต้าและโอไมครอนในประเทศไทย: การวิเคราะห์ด้วย Test-negative design แบบถ่วงน้ำหนักคะแนนแนวโน้ม (propensity-score weighting) วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 10(3): 1-21.

สุมลรัตน์ และ ผจญภัย. (2566). ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในการป้องกันการติดเชื้อ และภาวะปอดอักเสบ จากการติดเชื้อของอำเภอพรหมคีรี นครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 3(1): 45-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-07