ผลของกลยุทธ์หลากหลายวิธีต่ออุบัติการณ์และการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพหลายขนานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • นริสา ศรีลาชัย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์หลากหลายวิธี, , เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน, หอผู้ป่วยหนัก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องของพยาบาลวิชาชีพ และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์หลากหลายวิธี

วัสดุและวิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest design) ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  โรงพยาบาลนครพนม ดำเนินการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 8 เดือน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัยประกอบด้วย แผนการให้ความรู้และคู่มือเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน บอร์ดและจดหมายปิดผนึกในการให้ข้อมูลย้อนกลับ และโปสเตอร์เตือนการทำความสะอาดมือ ระบบแจ้งเตือนในแอพพลิเคชั่นไลน์และหน้าจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับพยาบาล แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาล และแบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบสัดส่วนของการปฏิบัติที่ถูกต้องระหว่างก่อนและหลังโดยใช้สถิติไคสแควร์และการทดสอบของฟิชเชอร์ ส่วนอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานเปรียบเทียบโดยคำนวณหาค่าลดลงของความเสี่ยง (risk reduction)

ผลการศึกษา : ภายหลังการใช้กลยุทธ์หลากหลายวิธี พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.94 เป็นร้อยละ 83.47 โดยเพิ่มขึ้นในทุกหมวดกิจกรรม (p<.001) และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานลดลงจาก 3.12 ครั้ง เป็น 1.53 ครั้งต่อ 1,000 วันนอนหรืออัตราความเสี่ยงลดลงร้อยละ 50.96   

ข้อสรุป : การใช้กลยุทธ์หลายวิธีสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มได้ และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นโรงพยาบาลควรนำวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการปฏิบัติด้านอื่นต่อไป

References

World Health Organization [Internet]. Switzerland: World Health Organization; 2021 [cited 2022 Dec 12]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/antimicrobial-resistance

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4276/hs2164.pdf?sequence=3&isAllowed=y

World Health Organization [Internet]. Switzerland: World Health Organization; 2014 [cited 2022 Dec 16]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/antimicrobial-resistance-global-report-surveillance-2014?gad_source=1&gclid=EAIaIQobChMIr4XRs5SChAMVsKpmAh2mFASvEAAYAyAAEgJQdPD_BwE

O'Neill, J. Review on antimicrobial resistance: tackling drug-resistant infections globally: final report and recommendations [Internet]; 2016 [cited 2023 Jan 8]. Available from: https://www.cabdirect.org/Globalhealth/Abstract/20163354200

NARST : National Antimicrobial Resistance Surveillance center, Thailand. สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในไทย [อินเทอร์เน๊ต]. กรุงเทพฯ; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/news001.html

Eibicht SJ, Vogel U. Meticillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) contamination of ambulance cars after short term transport of MRSA-colonised patients is restricted to the stretcher. J Hosp Infect. 2011;78:221-5.

Every NR, Hochman J, Becker R, Kopecky S, Cannon CP. Critical pathways : a review. Committee on Acute Cardiac Care, Council on Clinical Cardiology, American Heart Association. Circulation. 2000;101:461-5.

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4806/hs2377.pdf?sequence=3&isAllowed=y

วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร, ธนพร บุษบาวไล, ทรงยศ พิลาสันต์, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. การประเมินการดำเนินงานระยะครึ่งปีตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565;16:183-201.

Hansen S, Schwab F, Asensio A, Carsauw H, Heczko P, Klavs I, et al. Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) in Europe: which infection control measures are taken?. Infection. 2010;38:159-64.

ประจวบ ทองเจริญ, วันชัย มุ้งตุ้ย, อะเอื้อ อุณหเลขกะ. ผลการใช้กลวิธีหลากหลายต่อการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน. พยาบาลสาร. 2558;42:61-73.

ประภัสสร เดชศรี, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, นงคราญ วิเศษกุล. ผลของกลยุทธ์ที่หลากหลายวิธีต่อความรู้และการปฏิบัติการ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในพยาบาล หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ โรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร. 2564;48:154-166.

กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลนครพนม. รายงานอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลนครพนม ประชุมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ; 28 ตุลาคม 2565; ห้องประชุมธารารวมใจ ชั้น 5 อาคารอำนายการอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม.

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลนครพนม. การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ประชุมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ; 28 ตุลาคม 2565; ห้องประชุมธารารวมใจ ชั้น 5 อาคารอำนายการอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม.

Green L, Kreuter M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: McGraw-Hill; 2005.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2532.

ภาวิดา เล็กวุฒิกรณ์. ผลของการสอนด้วยสื่อประสมต่อความรู้และการปฏิบัติของบุคลากรพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบ และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2554;21:4-17.

สุนทรา เชื้อบ้านเกาะ, อารี ชีวเกษมสุข, อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของพยาบาลวิชาชีพไทยรุ่นอายุวายโรงพยาบาลศูนย์เขตบริการสุขภาพที่ 5. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18:155-162

สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ธีระป้อมวรรณกรรม; 2544.

Pearson A, Wiechula R, Court A, Lockwood C. The JBI model of evidence-based healthcare. Int J Evid Based Healthc. 2005;3:207-215.

ไววิทย์ แสงอลังการ. เทคนิคการสอนงาน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb12.pdf

นุชนาถ สีสุกใส, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ผลของการให้ความรู้และข้อมูลย้อนกลับต่อการปฏิบัติการป้องกันเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ หลายขนานในพยาบาล. พยาบาลสาร. 2564;48:141-153.

Jenner EA, Jones F, Fletcher BC, Miller L, Scott GM. Hand hygiene posters: motivators or mixed messages?. J Hosp Infect. 2005;60(3):218-25. doi: 10.1016/j.jhin.2004.12.014.

Shen L, Wang X, An J, An J, Zhou N, Sun L, et al. Implementation of WHO multimodal strategy for improvement of hand hygiene: a quasi-experimental study in a Traditional Chinese Medicine hospital in Xi’an, China. Antimicrobial Resistance and Infection Control. 2017;98. doi: 10.1186/s13756-017-0254-4.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. การพัฒนาการทำความสะอาดมือของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อใน โรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 2548;15(3):28-44.

Randle J, Clarke M, Storr J. Hand hygiene compliance in healthcare workers. J Hosp Infect. 2006 Nov;64(3):205-9. doi: 10.1016/j.jhin.2006.06.008. Epub 2006 Aug 8.

Aboelela SW, Stone PW, Larson EL. Effectiveness of bundled behavioural interventions to control healthcare-associated infections: a systematic review of the literature. J Hosp Infect. 2007 Jun;66(2):101-8. doi: 10.1016/j.jhin.2006.10.019. Epub 2007 Feb 21.

Burger CD, Resar RK. "Ventilator bundle" approach to prevention of ventilator-associated pneumonia. Mayo Clin Proc. 2006 Jun;81(6):849-50. doi: 10.4065/81.6.849.

บุษบา หน่ายคอน, อุไรวรรณ กะจะชาติ. ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศในองค์การกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. ว.กองการพยาบาล 2553;37:28-38.

ชฎารัตน์ ภูโอบ. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2563;7:28-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-26