การพัฒนาโปรแกรม Rx OPD เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ จิราวรรณ สันติเสวี

คำสำคัญ:

การประสานรายการยา, ข้อผิดพลาดทางยา, โปรแกรมคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม ซึ่งบางครั้งไม่ได้นำยามาด้วย ทำให้ไม่ทราบว่ารับประทานยาตัวใดอยู่บ้าง จึงทำให้การรักษาขาดความต่อเนื่อง ฝ่ายเภสัชกรรมจึงได้มีการพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ Rx OPD เพื่อสร้างระบบการประสานรายการยาผู้ป่วยนอก ลดความคลาดเคลื่อนทางยาจากการสั่งใช้ยาในช่วงรอยต่อของการรักษา และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สมควรได้รับอย่างต่อเนื่องเหมาะสม

วัตถุประสงค์: ประเมินผลการดำเนินประสานรายการยา โดยวัดผลจากความคลาดเคลื่อน

ทางยาร้อยละเป็นค่าเฉลี่ย และประเมินระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจากการขาดประสานรายการยา

วัสดุและวิธีการศึกษา:งานวิจัยและพัฒนานี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ศึกษาลักษณะและขนาดของปัญหาการสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยไม่สมควรได้รับในโรงพยาบาลนครพนม โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐาน ข้อมูลการใช้ยา ระหว่างวันที่ มกราคม 2564- กันยายน 2564 2) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการประสานรายการยาและนำมาใช้ในเดือนกันยายน 2564 และ 3) ศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการประสานรายการยา ประเมินก่อนเริ่มใช้โปรแกรมตั้งแต่เดือน มกราคม 2564- กันยายน 2564 และหลังใช้โปรแกรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – เมษายน 2565

ผลการศึกษา: จากการทบทวนความคลาดเคลื่อนทางยาพบว่าอันดับแรก คือ ไม่ได้ยาที่คนไข้ได้รับยา คิดเป็นร้อยละ 47.14 เมื่อมีการพัฒนาโปรแกรม Rx OPD แผนกห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ประเมินจากการคลาดเคลื่อนทางยาการประสานรายการยาพบว่า ประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนและหลังติดโปรแกรม พบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบคือ ไม่ได้ยาที่คนไข้ได้รับยา คิดเป็นร้อยละ 47.14 และ 35.15 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

ข้อสรุป: โปรแกรม Rx OPD ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งต่อให้แพทย์พิจารณาสั่งใช้ยา และเภสัชกรติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย จะสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาด้านย ที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ซึ่งหากแพทย์และเภสัชกรได้พิจารณาดูประวัติยาเดิมของผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ธิดา นิงสานนท์ “Medication Reconcilliation” ใน Medication reconciliation, 1-26. ธิดา นิสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุลม สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ กรุงเทพ บริษัทประชาชน 2551

National Coorinating Council for medication error Reporting and Prevention, What is medication error (online). Accesed 19 December 2021. Avalable from: http//www.acc

Nerp.org//about (Med Error) html.

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล.เส้นทางสู่คุณภาพ บริการเภสัชกรรม . พิมพ์ครั้งที่ 2. 2543: 77-83 5.

จักรี แก้วคำบัง, ผลของกระบวนการ Medication Reconciliationในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่ง หนึ่ง.สืบค้น 23 เมษายน 2565

Varkey, P., et al. Multidisciptinary approach to inpatient medication reconciliation in an academic setting. Am J Health syst Pharm 64, 8(15 April 2007): 850-854.

สุธาทอง มั่งมี. การประสานรายการยาในผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์. วิทยานิพนธ์ปริญยามหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ภาควิชาปฐมภูมิ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2554.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, กาญจนาภรณ์ ตาราไต, สถาพร ณ ราชสีม, สุรศักดิ์ ไชยสงค์. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการ สั่งใช้ยาซ้ำซ้อนในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-11