ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส ในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • อลงกต สุพร

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรซิส, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลมุกดาหาร

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Retrospective study ในกลุ่มผู้ป่วยอายุรกรรม อายุมากกว่า15 ปีขึ้นไป ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมุกดาหารด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส (confirmed case) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม  2565  โดยศึกษาข้อมูลด้าน อายุ เพศ อาชีพ เดือนที่ป่วย โรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม ลักษณะอาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลมุกดาหาร จำนวน 93 ราย พบเพศชายมากที่สุด  ร้อยละ 84.90 อายุระหว่าง 41-60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 48.40 ผลการรักษาพบว่าอาการดีขึ้น ร้อยละ 90.30 อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 9.70 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสอย่างมีนัยสำคัญ             ทางสถิติ คือ อายุ (p=0.04) ระบบหายใจล้มเหลวได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (p=0.00) ภาวะ shock (p=0.00) ระดับ hemoglobin (p=0.01) และ pulmonary hemorrhage (p=0.00) การวิเคราะห์โดย multiple linear regression analysis พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.583 ความสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการรักษาได้ ร้อยละ 34.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่นำมาใช้พยากรณ์ผลการรักษาของผู้ป่วย          ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (p=0.04) ระบบหายใจล้มเหลวได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (p=0.00) และ pulmonary hemorrhage (p=0.04)

สรุป: การทราบปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยโรคและนำข้อมูลไปปรับใช้เพื่อเฝ้าระวังและรักษาจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสได้

References

Costa F, Hagan JE, Juan J, Kane M, Torgerson P, Martinez-Silveira MS, et al. Global Morbidity and Mortality of Leptospirosis: A Systematic Review, PLOS Neglected Tropical Diseases 2015:1-19

Hinjoy S. Epidemiology of Leptospirosis from Thai National Disease Surveillance System, 2003-2012. OSIR 2014;7:1-5

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู มักพบการระบาดในฤดูฝน (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/odpc7/news.php?news=13552&deptcode=odpc7 [11 ธันวาคม 2565]

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค พบโรคฉี่หนูปีนี้กว่า 600 ราย ย้ำเตือนผู้อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง! เลี่ยงลุยน้ำย่ำโคลนด้วย เท้าเปล่า (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=20747&deptcode=brc [10 ธันวาคม 2565]

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข. กรมควบคุมโรค แนะประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม ไม่เดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า ป้องกันป่วย “โรคไข้ฉี่หนู” และ “โรคเมลิออยด์”(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/178642/ [10 ธันวาคม 2565]

ฤชุอร จอมทอง, พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน, วันชัย สีหะวงษ์, ทศพงษ์ บุระมาน, สำนักงานป้องกันควบคุมที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี, ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคฉี่หนู ความพึงพอใจข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อโรคฉี่หนูของผู้ป่วยโรคฉี่หนูในพื้นที่เสี่ยง อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2563;1:61-72

ทวีวุฒิ เต็มเอี่ยม. ปัจจัยทำนาย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิส ในกลุ่มผู้ป่วยสงสัยเลปโตสไปโรสิส จังหวัดศรีสะเกษ. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2020;37:307-315

วัฒนาพร รักวิชา, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) ของประชาชนอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 1:63-72 9. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ชมรมเลปโตสไปโรสิสแห่งประเทศไทย. คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรสิส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

โสภิดา บุญสาธร. Leptospirosis: Diagnotic tests. ใน: สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา, ฉัตต์มณี เลิศอุดมผลวณิช, ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์, พฤหัส พงษ์มี, บรรณาธิการ. Ramathibodi Handbook of Pediatric Diagnostic Tests. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เนติกุลการพิมพ์ จำกัด; 2563 .หน้า 159-160.

Centers of disease control and prevention. Leptospirosis (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก

https://www.cdc.gov/leptospirosis/index.html [17 ธันวาคม 2565]

ฆาลิตา วารีวนิช. ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ตอนบนปี 2560. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;4:580-589

Ajjimarungsi A, Bhurayanontachai R, Chusri S. Clinical characteristics, outcomes, and predictors of leptospirosis in patients admitted to the medical intensive care unit: A retrospective analysis. Journal of Infection and Public Health 2020;13: 2055–2061.

Hochedez P, Theodose R, Olive C, Bourhy P, Hurtrel G, Vignier N, et al. Factors Associated with Severe Leptospirosis, Martinique, 2010–2013, Emerging Infectious Diseases 2015;21:2221-2224.

กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ชมรมแลปโตสไปโรสิสแห่งประเทศไทย. แนวทางการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://cimjournal.com/wp-content/uploads/2022/10/Guidelines-Leptospirosis.pdf [29 ธันวาคม 2566]

ทวีวุฒิ เต็มเอี่ยม. ปัจจัยพยากรณ์ โอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยเลปโตสไปโรสิส โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2020;35:393-404.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-17