สภาวะโรคฟันผุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย อายุ 3-5 ปี ในคลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
สภาวะโรคฟันผุ, ปัจจัยเสี่ยง, โรคธาลัสซีเมียบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะโรคฟันผุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย อายุ 3-5 ปี ในคลินิกคลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม โดยศึกษาแบบ Cross-sectional analysis รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพช่องปาก ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์และการมีผิวเคลือบฟันที่สร้างไม่สมบูรณ์ (Enamel hypoplasia) ของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จำนวน 60 คนและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Multivariable logistic regression, odds ratio (OR), Wilcoxon rank sum test และ t-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียมีสภาวะโรคฟันผุร้อยละ 75 ค่าเฉลี่ยฟันผุอุดถอน (dmft) 9.67 (+5.93) ซี่/คน ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ 0.98 (+0.75) และมี enamel hypoplasia ร้อยละ 5 การวิเคราะห์ด้วย Chi-square analysis พบการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเอง ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์(DS) >1 และการมี Enamel hypoplasia มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ด้วย Multivariable logistic regression พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับการศึกษา ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์>1และการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเองตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วย Wilcoxon rank sum test พบความสัมพันธ์ของทัศนคติของผู้ดูแลเด็กกับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้พบความสัมพันธ์ของการศึกษาของผู้ปกครอง (OR 0.04, 95% CI 0.003-0.51), ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์ >1(OR 68.88, 95% CI 2.32-2042.66) และการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเอง (OR 38.11, 95% CI 1.14-1275.63) กับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอายุ 3-5 ปี โรงพยาบาลนครพนม
References
Featherstone JDB. Dental caries: a dynamic disease process. Aus Dent J 2016;38:150-4.
American Academy of Pediatric Dentistry. Guideline on Caries-risk Assessment and management for infants, Children, and Adolescent. Peadiatr Dent 2016;38:150-4.
Arthur JN. The dynamics of Change. In: Pediatric Dentistry Infancy through Adolescence. 5th ed.China: Elsevier;2013.p178-83.
Drury TF, Horowitz AM, Ismail AI, et al. Diagnosing and reporting early childhood caries for research purposes. J Public Health Dent 1999;59(3):192-7.
American Academy of Pediatric Dentistry, Policy on early childhood caries(ECC): Consequences and preventive strategies . The reference Manual of Pediatric Dentistry. Chicago, III.: American Academy of Pediatric Dentistry; 2021: 80-4.
Davices GN. Early childhood caries—a synopsis. Community Dent Oral Epi 1998;26:106-16.)
Caufield PW, Li Y, Bromage TG. Hypoplasia-associated Severe Early Childhood Caries – A Proposed Definition. J Dent Res 2012;91(6):544-50.
รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. –นนทบุรี : สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561.
Low W, Tan S, Schwartz S. The effect of severe caries on the quality of life in young children. Pediatr Dent 1999;21:325-6.
Ayhan H, Suskan E, Yildirim S. The effect of nursing or rampant caries on height, body weight and head circumference. The J of Clin Pediatr Dent 1996;20:209-12.
Tinanoff N, O’Sullivan DM. Early childhood caries: overview and recent finding. Pediatr Dent 1997;19:12-6.
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassemia syndromes พ.ศ.2557. กรุงเทพ: สถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี, 2557.34.
Cappellini MD, Cohen A, Porter J, et al. Guidelines for the Management of Transfusion Dependent Thalassemia(TDT) (Internet). 3rd edition Nicosia(CY): Thalassemia International Federation; 2014.36.
ณัฐธิดา พันพะสุก อัชชาวดี สักกุนัน อรวรรณ นามมนตรี รัชนีกร สาวิสิทธิ์ วารสารทันตาภิบาล ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 13-26.
เกตุวดี เจือจันทร์ อิชยา สินไชย อรวรรณ นามมนตรี อโนชา ศิลาลัย หฤทัย สุขเจริญโกศล The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima Vol.22 No.1 January-June 2016, 5-17.
Senessombath S, Nakhonchai S, Banditsing P, Lexomboon D. Early Childhood Caries and related factors in Vientiane, Lao PDR. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2010;41(3):717-25.
American Academy of Pediatric Dentistry. Policy on early childhood caries (ECC): Consequences and preventive strategies. The Referaence Manual of Pediatric Dentistry. Chicago, III.: American Academy of Pediatric Dentistry; 2022:90-3.
Petersen PE. Oral health behavior of 6-year-old Danish children. Acta odonto Scand 1992;50:50-64.
Nowak A, Crall JJ. Prevention of Dental Disease. In Pinkham JR. Pediatric Dentistry Infancy Through Adolescence. 4th Edition. Missouri: Elsevier; 2005. p.313-24.
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขใ หลักสูตรการบูรณาการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก สำหนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2549.
ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, และมุขดา ศิริเทพทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสระแก้ว. ว ทันตสาธารณสุข2556;18:23-32.
Hunsrisakhun J. The psycho-social support by significant others in promotion of oral health behaviour among primary school in Southern Thailand [Ph. D Thesis]. Denmark: University of Copenhagen;2003:60-70.
สุภร ตันตินิรามัย. สาเหตุ การรักษาและการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC). วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 33 ฉบับที 2 เม.ย.-มิ.ย.2559;167-175.
Leizel A, editor. MIMS Drug reference 161st Edition. Bangkok.452
Reddy A, Norris DF, Momeni SS et al. The pH of beverage in the United States. JADA 2016;10:1-9.
Isabela A, Dayane F, Fabia C et al. Fluoride concentration and erosive protential of Brazilian concentrated natural fruit juices. Rev Odon Cienc2014;29(4):106-109.
Rytomaa I, Meurman J, Koskinen Jea: In vitro erosion of bovine enamel caused by acidic drinks and other foodstuffs. Scand-J-Dent-Res 1988;96:324-33.
American Academy of Pediatric Dentistry. Health beverage consumption in early childhood: Recommendations from key nation health and nutrition organization: Summery of oral health considerations. The Reference Manual of Pediatric Dentistry. Chicago, III.: American Academy of Pediatric Dentistry; 2021:565-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ