ผลของรูปแบบการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ในการดูแลของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา

ผู้แต่ง

  • พรรณนิภา วิรัตนจันทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลตนเอง, การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล, ติดเชื้อที่แผลกระจกตา

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลตนเอง และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลนครพนม

          วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi -Experimental research) กลุ่มเดียว (One group Pretest-Posttest) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาทุกราย  ที่มารับบริการหอผู้ป่วยตา หู คอจมูก โรงพยาบาลนครพนม โดยเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2566 ถึงเดือนกันยายน 2566 คำนวณตามตาราง Krejcie & Morgan จำนวน 31 ราย, ผู้ดูแล และพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาต่อรูปแบบการดูแลตนเอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาต่อรูปแบบการดูแลตนเอง 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก ต่อรูปแบบการดูแลตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ paired t-test                

            ผลการศึกษา : พบว่า 1) อัตราการกลับมารักษาซ้ำ ภายหลังการใช้รูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา ไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาอกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน  2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา พบว่า ก่อนการใช้รูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเท่ากับ 1.92(SD=0.98) หลังการใช้รูปแบบกาดูแลตนเอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 2.61(SD=0.62)สูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) 3) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา พบว่า ก่อนการใช้รูปแบบ ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเท่ากับ 2.99 (SD=0.14) หลังการใช้ ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.47 (SD=0.09)สูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) 4) ความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาต่อรูปแบบการดูแลตนเอง พบว่าคะแนนความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพอใจมาก(=3.24,S.D=0.60) 5) ความพึงพอใจของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตาต่อรูปแบบการดูแลตนเอง พบว่าคะแนนความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก( =3.29,S.D=0.65) 6) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก   ต่อรูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเชื้อแผลกระจกตาพบว่าคะแนนความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (= 3.34, S.D=0.48)

          ข้อสรุป : รูปแบบการดูแลตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา พบว่าภายหลังการีใช้รูปแบบ ผู้ป่วยติดเชื้อที่แผลกระจกตา มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแล ประเมินได้จากไม่มีอัตรากการกลับมารักษาซ้ำ

References

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. (2565). สรุปสถิติผู้ป่วย พ.ศ. 2563-2565. นครพนมโรงพยาบาลนครพนม. (เอกสารอัดสำเนา).

จิรัชยา เจียวก๊ก และเขมริฐศา เข็มมะลวน. ปรับตัวทางสังคมของผู้ป่วยโรคกระจกตาเป็นแผลอักเสบติดเชื้อ. วารสารจักษุธรรมศาสตร์.2558;10(2)

จันทร์จิรา สีสว่าง,ปุลวิชช์ ทองแตง, พัชรรินทร์ เนียมเกิดและ จงจิตร ตัณฑโพธิ์ประสิทธิ์.การมีส่วนร่วมของครอบครัว : กลยุทธ์สนับสนุนการให้ความร่วมมือในการรักษา ในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้.รามาธิบดีพยาบาลสาร.2565;28(2),159-169

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ ,ลินจง โปธิบาลและทศพร คำผลศิริ.ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว.พยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 108-121

วิศรุตา วุฑฒยากร.แผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

พ.ศ.2555-2559:Corneal Ulcer Leading to Admission at Sawanpracharak Hospital 2012-2016.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร.2562;16(3),76-86

นิคม ถนอมเสียง,2561 การคำนวณขนาดตัวอย่าง Sample Size Determination. [อินเทอร์เน็ต] 2561. เข้าถึงได้จาก :https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf [เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม2566]

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม : การสังเคราะห์และบูรณาการ. ปรับมาจาก Krejcie, R.V.,and Morgan D.W. " Determining Sample Size for Research Activities." Psycholological measurement (1970) : 607-610, [อินเทอร์เน็ต] 2527.เข้าถึงได้จาก: http://www.chulalongkornhospital.go.th/unit/ipdchula [เข้าถึงเมื่อ 21กุมภาพันธ์ 2566]

ฝ่ายจักษุวิทยา.กระจกตาติดเชื้อ.[อินเทอร์เน็ต] 2564.เข้าถึงได้จาก: http://www.chulalongkornhospital.go.th/unit/ipdchula [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม2566]

ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.กระจกตาติดเชื้อ..[อินเทอร์เน็ต] 2562 แหล่งที่มา http://www.eldercarethailand.com.eldercare/content [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2566]

ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ แห่งประเทศไทย.วิธีหยอดตาที่ถูกต้อง.[อินเทอร์เน็ต] 2557 แหล่งที่มา http://www.youtube.com.watch [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2566]

วณิชา ชื่นกองแก้ว.จักษุวิทยา.กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิด, 2550

อนงค์นุช สารจันทร์,วันเพ็ญ แก้วปาน,ปาหนัน พิชยภิญโญและจุฑาธิป ศีลบุตร .ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคกระจกตาอักเสบจากการใช้เลนส์สัมผัสของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร.วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560; 31 ฉบับพิเศษ

อรทัย สุวรรณพิมลกุล .กระจกตาติดเชื้อ. https://www.isoptik.com/th/article/eyecare/458)

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice. St. Louis: Mosby

ประกายรัตน ทองผิว. กระจกตาอักเสบจากการติดเชื้อรา. สรรพสิทธิเวชสาร,2557.35(2).99-111

กนกวรรณ หอมจันทนากุล. การพยาบาลผู้ป่วยแผลกระจกตาที่ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา : กรณีศึกษาโรงพยาบาลพยาบาลขอนแก่น.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.2565;7(2).1-10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04