ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้ในโรงพยาบาลมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ติดเชื้อในกระแสโลหิต, อัตราการเสียชีวิต, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก อัตราการเสียชีวิต และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (blood stream infection: BSI) ที่รับไว้ในโรงพยาบาลมุกดาหาร
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลมุกดาหาร ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (BSI) และผลเพาะเชื้อจากเลือดพบเชื้อแบคทีเรีย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (BSI) 261 ราย เป็นเพศชาย 132 ราย (ร้อยละ 50.6) อายุเฉลี่ย(+SD) 63.2 (+16.4) ปี เสียชีวิต 45 ราย (ร้อยละ 17.2) มีโรคร่วม 204 ราย (ร้อยละ 78.2) เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียกรัมลบ 176 ราย (ร้อยละ 67.4) มีภาวะ septic shock 91 ราย (ร้อยละ 34.9) ผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพภายใน 1 ชั่วโมงหลังวินิจฉัย 176 ราย (ร้อยละ 67.4) ยาต้านจุลชีพที่ได้รับใน 24 ชั่วโมงแรกมีความครอบคลุมเชื้อ 246 ราย (ร้อยละ 94.2) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น คือระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว
สรุป : อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยการติดเชื้อในกระแสโลหิต (BSI) ยังสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น คือระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว
References
World Health Organization. Global health estimates 2016: disease burden by cause, age, sex, by country and by region, 2006-2016. WHO. [Internet]. 2018 [cited 2019 Sep 7]. Available from: http://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/estimates/en/index1
Rhee C, Dantes R, Ebstein L, Murphy DJ, Seymour CW, Iwashyna TJ, et al. Incidence and trends of sepsis in US hospitals using clinical vs claims data, 2009-2014. JAMA.2017; 318(13): 1241-1249. doi:10.101/jama.2017.13836.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired เขตสุขภาพที่ 10. [อินเทอร์เนท]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://mdh.hdc.moph.go.th/hdc/reports
Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shakar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international concensus definitions of sepsis and septic shock (Sepsis-3). JAMA. 2016; 315(8): 801-810. doi: 10.1001/jama.2016.0287
Marik PE, Taeb AM. SIRS, qSOFA and new sepsis definition. J Thorac Dis. 2017;9(4): 943-945. doi: 10.21037/jtd.2017.03.125
Wang C, Xu R, Zeng Y, Zhao Y, Hu X. A comparison of qSOFA, SIRS and NEWS in predicting the accuracy of mortality in patients with suspected sepsis: A meta-analysis. PLoS ONE. 2022; 17(4): e0266755. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0266755
Hantrakun V, Somayaji R, Teparrukkul P, Boonsri C, Rudd K, Day NPJ, et al. Clinical epidemiology and outcomes of community acquired infection and sepsis among hospitalized patients in a resource limited setting in Northeast Thailand: A prospective observational study (Ubon-sepsis). PLoS ONE. 2018; 13(9): eo204509. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0204509
ลัลธริตา เจริญพงษ์, กิตติศักดิ์ ผลถาวรกุลชัย. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563; 39(4): 542-560.
Conn JR, Catchpoole EM, Runnegar N, Mapp SJ, Markey KA. Low rates of antibiotic resistance and infectious mortality in a cohort of high-risk hematology patients: A single center, retrospective analysis of blood stream infection. PLoS ONE. 2017; 12(5): e0178159. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0178059
Lueangarun S, Leelarusamee A. Impact of inappropriate empiric antimicrobial therapy on mortality of septic patients with bacteremia: A retrospective study. Interdiscip Perspect Infect Dis. 2012; 2012:765205. doi: 10.1155/2012/765205
Kanoksil M, Jatapai A, Peacock SJ, Limmathurotsakul D. Epidemiology, microbiology and mortality associated with community-acquired bacteremia in Northeast Thailand: A multicenter surveillance study. PLoS ONE. 2013; 8(1): e5471. doi: 10.1371/journal.pone.0054714
นิตยา อินทราวัฒนา. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์การดื้อยา. Journal of Medicine and Health Sciences. 2015;22(1): 81-92
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ