แนวทางการจัดการตนเอง ของ เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีภาวะเหล็กเกิน

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์ -

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการตนเอง, เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่มึภาวะเหล็กเกิน

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีภาวะเหล็กเกิน และศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการตนเองชองเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียและความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อแนวทางการจัดการตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกกุมารเวชกรรมธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) ดำเนินการระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2565 - กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงในกลุ่มเด็กวัยเรียนอายุ 8-15ปี ที่มีระดับธาตุเหล็ก เฟอริตินมากกว่า 1000นาโนกรัมต่อมิลลิตรขึ้นไป  โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการตนเองของเคียร์และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(PAOR) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แนวทางการจัดการตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามการจัดการตนเอง แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อแนวทางการจัดการตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน   5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ paired t-test

ผลการศึกษา : คะแนนการจัดการตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกิน ก่อน ใช้แนวทางการจัดการตนเองมีคะแนนเฉลี่ย 2.32(S.D=0.09) หลังใช้แนวทางการจัดการตนเอง คะแนนเฉลี่ย 2.73 (S.D=0.26)   คะแนนค่าเฉลี่ย หลังใช้แนวทางสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P< 0.001 ) ผลลัพธ์ของภาวะสุขภาพ ภายหลังการใช้แนวทางการจัดการตนเอง มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ประเมินผลได้จากระดับฮีโมโกลบินที่เพิ่มขึ้น การลดลงของระดับเฟอริติน และน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ ด้านความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อแนวทางการจัดการตนเอง พบว่า หลังการใช้แนวทางคะแนนความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(X=3.51, S.D=0.15)

สรุป : แนวทางการจัดการตนเอง ของ เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีภาวะเหล็กเกิน พบว่าภายหลังการใช้แนวทาง เด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมีการจัดการตนเองที่ดี ส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่มีแนวโน้มของสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น ประเมินได้จากระดับฮีโมโกลบินที่เพิ่มขึ้น การลดลงของระดับเฟอริตินสะสมในร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ และผู้ดูแล พึงพอใจต่อแนวทางการจัดการตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

References

วิปร วิปกษิตร. (2559). ธาลัสซีเมีย อันตรายน่าห่วง. บทความสุขภาพ สสส. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www. thaipost.net (22/1/65)

สถิติคลินิกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม

Ward, A., Caro, J., Green, T., Huybrechts, K., Arana, A., Wait, S., et al. (2002). An international survey of patients with thalassemia major and their views about sustaining life-long desferrioxamine use. BMC

เวียงพิงค์ ทวีพูน.(2563).พัฒนาการเด็กวัยเรียน.สืบค้นวันที่ 18 มกราคม 2565 จาก http ://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค Self-management Support: Strategies for Promoting Disease Control.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558.26(1), 117-127

Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Handbookofself-regulation. pp. 601-629. San Diego, CA: Academic Press. International Federation;2000[cited 2022 Jan 18]. Available from https://psycnet.apa.org

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเรื้อรัง.วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15 (2), 129-134

กาญจนา ลุศนันท์. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในครอบครัวและสังคม. กรุงเทพฯ:

อักษรเจริญทัศน์. 2552.

ขนิษฐา พิศฉลาด และเกศมณีมูลปานันท์. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วย

เด็กโรคธาลัสซีเมียและผู้ดูแล. พยาบาลสาร 2556; 40(3), 97-108

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action research. (อ้างจาก Kemmis, S & McTaggart, R. ,1988). วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558; 2 (1),29-49

ทัศนีย์ ขันทอง, แสงอรุณ อิสระมาลัย, พัชรี คมจักรพันธุ์ .ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่ ใช้อินซูลิน. วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(1), 85-99.

ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, พจนารถ สารพัด. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย.จุลสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(3), 146-156.

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเรื้อรัง.วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15 (2),129-134

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รู้เท่าทันน้ำหนัก-ส่วนสูง แนวทางการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ: ด้านโภชนาการ(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก

https://nutrition2.anamai.moph.go.th/(27/5/65)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24