ความแม่นยำของการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ ในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ภารณี ศรีสุภะ

คำสำคัญ:

มะเร็งเต้านม, ไบแรดส์, แมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องแม่นยำในการรายงานผลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ด้วยระบบไบแรดส์ในโรงพยาบาลนครพนม

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังรูปแบบ retrospective cross sectional study วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของผลการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อวินิจฉัยโรคจากข้อมูลเวชระเบียน ตั้งเเต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งหมด 124 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าพยากรณ์ผลบวกและผลลบ (positive predictive value and negative predictive value) 

ผลการศึกษา : จากรายงานผลการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ทั้งหมด 124 คน พบค่าพยากรณ์ผลบวกของ BIRADS 4A, 4B, 4C ร้อยละ 38.10, 46.15 และ 58.62 ตามลำดับ ค่าพยากรณ์ผลบวกของ BIRADS 5 ร้อยละ 96.3 ลักษณะภาพทางรังสีชนิด mass with microcalcification และกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม  ผลตรวจชิ้นเนื้อชนิดมะเร็งพบมากที่สุดคือ invasive ductal carcinoma ผลตรวจชิ้นเนื้อชนิดไม่เป็นมะเร็งพบมากที่สุดคือ fibrocystic change และ fibroadenoma

สรุป : การรายงานผลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวนด์ด้วยระบบไบแรดส์ในโรงพยาบาลนครพนม มีความถูกต้องแม่นยำ และมีประโยชน์ในการคาดการณ์โอกาสการเป็นมะเร็งได้สูง

References

Breast cancer statistics | World Cancer Research Fund International [Internet]. WCRF International. [cited 2023 Mar 13]. Available from: https://www.wcrf.org/cancer-trends/breast-cancer-statistics/

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2564=HOSPITAL-BASED CANCER REGISTRY ANNUAL REPORT 2020. กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพ; 2564.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลนครพนม. เอกสารอัดสำเนา; 2566.

นพ.จารุวัฒน์ แจ้งวัง การศึกษาผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมสตรีกลุ่มเสี่ยงสูง อายุ 30-70 ปี ด้วยแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ. 2560. วารสารโรงพยาบาลนครพนม.2560;4(3):42-51

วิมล อินสวน ความแมนยําของการตรวจแมมโมแกรมเพื่อวินิจฉัยโรครวมกับอัลตราซาวด์ ในโรงพยาบาลสุโขทัย : ค่าพยากรณ์ ผลบวกการรายงานผลแบบไบแรดส์ ระดับ 4 และ 5. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร.2557;18(1):17-24

ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์, สมเกียรติ สรรพวีรวงศ์, ศรีลา สำเภา, ปัทมา ธนอนันตรักษ์, รัศมี สังข์ทอง.ค่าวิเคราะห์ของการรายงานผลแบบไบแรดส์ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลาครินทร์เวชสาร.2554;29(4):155-61.

เพ็ญศรี ศิริคุณากร, นฤภร มฤคทัต, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล, คงศักดิ์ โล่ห์อร่ามทวีทอง (2557) ค่าพยากรณ์บวกของมะเร็งเต้านมในรอยโรคที่จัดอยู่ใน BIRADS 4และ 5. วชิรเวชสาร. 2557;58(2):1-11.

มาลัย มุตตารักษ, พ.บ., 1 กาญจนา ศรีวิชัย, พ.บ., 2 เบญจพร ไชยวรรณ, พ.บ. 3และ นีลยา สุคำวัง,พ.บ.The Breast Imaging Reporting and Data System- BI-RADS: Positive Predictive Value of Categories 4 and 5 Lesions. เชียงใหม่เวชสาร 2553;49(3):111-116.

Mammography-Reporting.pdf [Internet]. [cited 2023 Mar 13]. Available from: https://www.acr.org/-/media/ACR/Files/RADS/BI-RADS/Mammography-Reporting.pdf

American College of Radiology. Breast Imaging Reporting and Data System. (BI-RADS). Reston, Va: American College of the Radiology, 1993.

American College of Radiology. Breast Imaging Reporting and Data System (BI-RADS). 4th ed. Reston, Va: American College of Radiology, 2003.

American College of Radiology. Breast Imaging Reporting and Data System (BI-RADS). 3rd ed. Reston, Va: American College of the Radiology, 1998.

Hirunpat S, Tanomkiat W, Khojarern R, Arpakupakul N. Accuracy of the mammographic report category according to BIRADSTM. J Med Assoc Thai 2005;88:62-5

Lacquement MA, Mitchell D, Hollingsworth AB. Positive predictive value of the Breast Imaging Reporting and Data System. J Am Coll Surg 1999;189:34-40.

Liberman L, Abramson AF, Squires FB, Glassman JR, Morris EA, Dershaw DD. The breast imaging reporting and data system: positive predictive value of mammographic features and final assessment categories. Am J Radiol 1998;171:35-40

Suttawas A. Positive Predictive Value and Biopsy Rate of Breast Cancer in BI-RADS Category 4 and 5 Breast Lesions. วารสารแพทย์เขต 4-5. 17 กรกฎาคม 2018;37(2):174–82.

เตชาเสถียร การตรวจพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยที่รายงานผล Breast Imaging Reporting and Data System (BI-RADS) category 4 และ 5 ด้วยวิธีการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราฃาวด์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2012;27(1):11–21.

Muttarak M, Sukhamwang N. The Breast Imaging Reporting and Data System (BI-RADS): Positive Predictive Value of Categories 4 and 5 Lesions.

สิงหะการ ประสิทธิผลของการรายงานผลตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม BIRADS 4 และ 5 โรงพยาบาลพังงา. Reg 11 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 4 มิถุนายน 2021 [อ้างถึง 31 มีนาคม 2023];35(1). Availableat:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article /view/246281

Wiratkapun C, Bunyapaiboonsri W, Wibulpolprasert B, Lertsithichai P. Biopsy Rate and Positive Predictive Value for Breast Cancer in BI-RADS Category 4 Breast Lesions. J Med Assoc Thai. 1 กรกฎาคม 2010;93(7):830.

Liu Y, He M, Zuo WJ, Hao S, Wang ZH, Shao ZM. Tumor Size Still Impacts Prognosis in Breast Cancer With Extensive Nodal Involvement. Front Oncol [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [อ้างถึง 8 มิถุนายน 2023];11. Available at: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fonc.2021.585613

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23