ประสิทธิผลของน้ำยาอมอดบุหรี่ 0.5 เปอร์เซ็นต์โซเดียมไนเตรทกับยาอมหญ้าดอกขาวในการบำบัดผู้ติดบุหรี่
คำสำคัญ:
น้ำยาอมอดบุหรี่, โซเดียมไนเตรท, หญ้าดอกขาว, ติดบุหรี่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ โครงการวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำยาอมอดบุหรี่กับยาอมหญ้าดอกขาวในการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยนอกที่มารับการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ รวมทั้งศึกษาความแตกต่างระหว่างอาการถอนบุหรี่ อาการอยากบุหรี่ และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้น้ำยาอมอดบุหรี่และยาอมหญ้าดอกขาวในการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่
วั
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของน้ำยาอมอดบุหรี่กับยาอมหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยนอกที่มารับการบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่
วัสดุและวิธีการ: ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 83 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเพื่อเลิกบุหรี่ที่คลินิกบุหรี่ที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธี blocked randomization คือ กลุ่มทดลองจำนวน 43 ราย ซึ่งจะได้รับน้ำยาอมอดบุหรี่ และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 ราย ได้รับยาอมหญ้าดอกขาว ติดตามผลการเลิกบุหรี่ในสัปดาห์ที่ 1, 4, 7 และ 12 ในการติดตามผลจะสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ และตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันผล
ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของ ค่า PAR และ CAR ในกลุ่มอาสาสมัครที่ที่ใช้น้ำยาอมอดบุหรี่และยาอมหญ้าดอกขาว นอกจากนี้พบว่าค่า BUN ในหญ้าดอกขาวมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อสรุป น้ำยาอมอดบุหรี่และหญ้าดอกขาวสามารถช่วยในการเพิ่มโอกาสในการหยุดสูบบุหรี่
References
ณรงค์ สหเมธาพฒน์. การควบคุมการบริโภคยาสูบ รายงานการวิจัย ศูนย์ศึกษาและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพและสาธารสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
ปรีดา เบญจนากาศกุล. ประสิทธิผลของหญ้าดอกขาวในการเลิกบุหรี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
ฉวีวรรณ ดวงจรและคณะ. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาสมุนไพรหญ้าดอกขาวกับยาหลอกในการลดการสูบบุหรี่. ในกลุ่มงานวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย. รวมบทคัดย่องานวิจัยด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร; 2550
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. รายงานผลการดำเนินงาน ศจย. ระยะที่ 2 พ.ศ.2552-2554. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ; 2554.
ฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลศิริราช. คู่มือบัญชียาหลักโรงพยาบาลศิริราช (อัดสำเนา). กรุงเทพมหานคร ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช; 2548.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. ประสิทธิผลของน้ำยาอมอดบุหรี่. ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2565.
Supakit Wongwiwatthanannukit, Preeda Bebjanakaskul, Thanapat Songsak, Somporn Suwanmajo and Viroj Verachai. Efficacy of Vernonia Cinerea for smoking cessation. J Health Res. 2009; 23(1):31-36.
Maya SK, Singla S. Rol of Cystone in Management of Ureteric Calculi. Mediccine and Surgery. 1993; December: 21-4.
Kekade, S.R. Cystone Therapy in urolithiasis. Probe, 1985; 24(3): 167-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ