ผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวเพื่อการพึ่งพาตนเองแบบญี่ปุ่นสำหรับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • รัชชดา สุขผึ้ง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเคลื่อนไหว, ผู้สูงอายุ, เขตสุขภาพที่ 8

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวเพื่อการพึ่งพาตนเองแบบญี่ปุ่นสำหรับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 8

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi–experimental study) ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 ศึกษาในจังหวัดเขตสุขภาพที่ 8 (หนองคาย หนองบัวลำภู นครพนม บึงกาฬ เลย สกลนคร อุดรธานี)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,265 คน คือกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ผ่านการทดสอบประเมิน Barthel activities of daily living index (ADL) ได้รับการฝึกการเคลื่อนไหวเพื่อการพึ่งพาตนเอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย: แบบฝึกการเคลื่อนไหว แบบสอบถามและแบบบันทึก โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, T-Test, one way ANOVA และ multiple regression

ผลการวิจัย: รูปแบบกระบวนการฝึกปฏิบัติตาม SSM program เป็นการฝึกท่าพื้นฐาน และท่าการฝึกกล้ามเนื้อ ในเรื่องการใช้มือ การเคลื่อนไหวร่างกาย การปรับเปลี่ยนท่าทาง และการเดิน การฝึกเป็นเวลา 30 -60 นาทีต่อครั้งจำนวน 6 ครั้ง ใน 12 สัปดาห์ หลังดำเนินการ พบว่า ส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพปกติเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 75.4 เป็น 83.4 ป่วย 1 โรค/อาการลดลงจากร้อยละ 15.7 เป็น ร้อยละ 9.2 คะแนน ADL อยู่ในระดับดีกว่าก่อนดำเนินการ (mean=19.78, SD=0.74) ความดันโลหิตลดลงจาก 138.49 เป็น 122.95 mmHg, BMI ลดลงจาก 25.28 เป็น  24.47 มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นจาก 34.79 เป็น 37.20 ค่าแรงมือเพิ่มขึ้นจาก 23.69 เป็น 24.01 มวลไขมันลดลงจาก 32.36 เป็น 31.76 คะแนนความสามารถประเมินผ่านลักษณะความเร็วของสัตว์โดยรวมมากกว่าก่อนดำเนินการ (ก่อน M=9.98, SD=3.18, หลัง M=11.20, SD=3.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ลักษณะความสามารถทางกายรวมทุกด้านดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ 67.2 มากที่สุดด้านการเคลื่อนไหว (จาก 2.01 เป็น 2.52) การเดิน (จาก 2.34 เป็น 2.78) และการใช้มือ (จาก 2.25 เป็น 2.45) ตามลำดับ เทียบกับชนิดของสัตว์พบว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ สุนัข (จากร้อยละ 19.9 เป็น 31.5) กระต่าย (จากร้อยละ 15.8 เป็น 27.4) และม้า (จากร้อยละ 10.1 เป็น 31.5) ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ADL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 9 ปัจจัย จาก 11 ปัจจัย รวมกันพยากรณ์ความเสี่ยงภาวะสุขภาพได้ ร้อยละ 10 (ค่าคงที่ B=20.140, adj.R2= 0.010, p<0.001) มากที่สุดคือ คะแนนรวมความสามารถ 4 ด้าน ความสามารถในการปรับเปลี่ยนท่าทาง และแรงบีบมือ

สรุป ผลของการศึกษาพบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในกิจวัตรประจำวัน มากที่สุดคือ คะแนนรวมความสามารถเคลื่อนไหวทั้ง 4 ด้าน จึงควรมีการฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมการเคลื่อนไหวเพื่อการพึ่งพาตนเอง ขยายการฝึกไปยังผู้สูงอายุให้กว้างขวางต่อไป

References

World Health Organization. Healthy life expectancy (HALE) at birth. WHO Switzerland: Geneva; 2016.

อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ. รพ.สต.บ้านสบหาร เตรียมพร้อม ‘เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ’. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.

รศรินทร์ เกรย์, วารี วิดจายา, อมรพันธ์ อัจจิมาพร, ศุทธิดา ชวนวัน และปิยวัฒน์ เกตุวงศา. โครงการสำรวจเชิงตรวจสอบร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยใช้ระบบการดูแลเชิงป้องกันแบบญี่ปุ่น. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และ นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(4): 15-24.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล: ประชากรของประเทศไทยปี 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

ชลธิชา จันทคีรี. การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559;24(2): 1-13.

ธนวรรณพร ศรีเมือง. ผลของการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบเพลงพื้นเมืองอีสานประยุกต์ต่อความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาผู้สูงอายุ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560.

เอกสิษฐ์ หาแก้ว. รูปแบบการจัดการโปรแกรมกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการกีฬา; 2563.

พิเชฐ ปัญญาสิทธิ์, รัษฏาวัลย์ โพธิขันธ์, วาสนา ธัญญโชติ, พรฤดี นิธิรัตน์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(3): 478-488.

ศรอุษา ฉิมเพ็ชร, นาถ พันธุมนาวิน, ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. พฤฒพลังด้านสุขภาพของผู้สูงอายุประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไทย. รายงานสืบเนื่องการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. 2565;65: 105-115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-06