ทัศนคติและมุมมองการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพของประชาชน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, มุมมอง, การใช้กัญชาเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาทัศนคติและมุมมองต่อการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพของประชาชนในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 25 คน
วัสดุและวิธีการศึกษา: กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและจากเอกสาร ตำรา
ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าหน่วยงานด้านสุขภาพควรมีการสนับสนุนด้านความรู้และการใช้ประโยชน์จากกัญชา ส่วนในชุมชนท้องถิ่นมีทรัพยากรทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมที่สามารถปลูกกัญชาเพื่อสุขภาพได้แต่ต้องได้รับการสนับสนุนทางภาครัฐและเอกชน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นทั้งในทางบวกและทางลบต่อการใช้กัญชา เช่น กัญชาสามารถรักษาอาการความเจ็บป่วยได้ กัญชาช่วยเพิ่มความอร่อยในอาหาร กัญชาเป็นสิ่งเสพติดหากนำมาใช้ผิดวิธีและใช้ปริมาณมากเกินไป เป็นต้น ส่วนมุมมองต่อการใช้กัญชา ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีประสบการณ์ต่อการใช้กัญชาน้อยเพราะปัจจุบันยังไม่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูลมีการรับรู้ถึงความรุนแรงของกัญชาในรูปแบบยาเสพติด มีผลเสียต่อร่างกายหากใช้ไม่ถูกวิธี การรับรู้ข่าวสารและการเข้าถึงแหล่งที่มาของกัญชาในพื้นที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากหน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ยังไม่มีการเผยแพร่ความรู้ และวิธีการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพที่มากเพียงพอ
ข้อสรุป: ผู้ให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็นทั้งในทางบวกและทางลบต่อการใช้กัญชาและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้กัญชาเพื่อสุขภาพ
References
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565.
คณะอนุกรรมการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์. การใช้กัญชาทางการแพทย์. นนทบุรี: แพทยสภา; 2562.
ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กลุ่มงานเภสัชกรรมและกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. สถานการณ์การใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย. ปราจีนบุรี: โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี; 2562.
สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. การใช้สารสกัดกัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย; 2562.
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12:71-94.
วิชัย โชควิวัฒน. กัญชา กัญชา เป็นยาวิเศษ จริงหรือ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก 2562;17:324-340.
สมนึก ศิริพานทอง. ประวัติศาสตร์ของตำรับยาไทยจากกัญชา.[อินเทอร์เน็ต]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ 18 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cannhealth.org/content/5938/cannabis-molasses
สุพัสรี คํามูล, สมจิต แดนสีแก้ว. ผลการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันการใช้กัญชาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37:134-143.
วีรยา ถาอุปชิต, นุศราพร เกษสมบูรณ์. นโยบายกัญชา: การวิเคราะห์เปรียบเทียบไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน และอิสราเอล. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;13:4-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ