การประเมินผลการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สุภัค จันทร -

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, บริการทันตกรรม, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอวิเชียรบุรี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิกฝากครรภ์ จำนวน 130 คน หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 260 คน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (percentages) ค่าเฉลี่ย (means) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple linear regression)

ผลการวิจัย:พบว่าหลังพัฒนาหญิงตั้งครรภ์ได้รับคำแนะนำ ร้อยละ 91.9 สาธิตวิธีการแปรงฟัน ร้อยละ 45.0 สาธิตไหมขัดฟัน ร้อยละ 38.4 และให้บริการทันตกรรม (ขูดหินปูน/อุดฟัน) ร้อยละ 30.0 โดยรวมระดับการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับสูง (3.90±0.73) การรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองระดับสูง (3.91±0.97) ได้รับการสนับสนุนของครอบครัว (4.01±0.98) ได้รับการสนับสนุนทางสังคม (3.96±0.86) ปัจจัยการได้รับสนับสนุนทางสังคมและการสนับสนุนของครอบครัวสามารถทำนายค่าเฉลี่ยสภาวะสุขภาพช่องปาก (ค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน: DMFT) ของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 16.7 (R2adj=0.167, p<0.025)บุคลากรผู้ให้บริการมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ (3.83±0.89) และมีคุณภาพบริการระดับสูง (3.60±2.90)

สรุป:หลังการพัฒนาพบว่าบุคลากรมีคุณภาพบริการทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับสูง การได้รับสนับสนุนทางสังคมและครอบครัว จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์มีสภาวะสุขภาพช่องปากดีขึ้น

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการบริหารจัดการ การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการบางกลุ่มวัยเป็นการจำเพาะ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2563

สุอัมพร ค้าทวี. สภาวะสุขภาพช่องปากที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39(2):154-163.

Global Child Dental Fund. สุขภาพช่องปากและการตั้งครรภ์ การไปพบทันตแพทย์ระหว่างตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2565]. จาก https://www.gcdfund.org/sites/default/

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, ศรัญญา ตันเจริญ, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย. การดูแลสุขภาพช่องปากในสตรีตั้งครรภ์เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด : บทบาทพยาบาล. Siriraj Medical Bulletin 2021;14(1):35-40.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. เอกสารประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กรณีปกติ พ.ศ.2563- 2564. [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2565]. จาก http://www.phetchabunhealth.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2): 315-328.

รชานนท์ ง่วนใจรัก, อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, อัญชลีพร อิษฎากร. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ทันตสุขภาพแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาการรับรู้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพช่องปากสตรีตั้งครรภ์ในศูนย์อนามัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทย. วารสารทันตาภิบาล 2563;31(1): 102-115.

อาทิตยา แก้วน้อย, ศรีสมร ภูมนสกุล, สายลม เกิดประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด. Rama Nurs J • September-December 2018;24(3):264-278.

อัสมะ จารู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

Geisinger ML, Alexander DC, Dragan IF, Mitchell SC. Dental Team's Role in Maternal and Child OralHealth During and After Pregnancy. Compend Contin Educ Dent. 2019;40(2):90-6.

Albasry Z, Alhaddad B, Benrashed MA, Ansari AA, Nazir MA. A Cross-Sectional Analysis of Dental Care Utilization Among Pregnant Women in Saudi Arabia. ID Design Press, Skopje, Republic of Macedonia 2019;7(23):4131-4136.

Rocha JS, ArimaBLY, Werneck RL, Moyses SJ, Baldani MH. Determinants of Dental Care Attendance during Pregnancy: A Systematic Review. Caries Res. 2018;52(1-2):139-152.

Ghaffari M, Rakhshanderou S, Moradabadi AS, Torabi S. Oral and dental health care during pregnancy: Evaluating a theory-driven intervention. Oral Dis 2018;24(8): 1606-1614.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23