ผลของการพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • นางสุรีย์รัตน์ แก้วชัง -

คำสำคัญ:

มารดาวัยรุ่น, หลังคลอด, แนวทางการดูแล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก และผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental research) กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก  อายุตั้งแต่15 ปี ถึง 19 ปี ทุกราย ที่มารับบริการหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนมระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึง เดือนธันวาคม 2564 จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก   แบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม ต่อการใช้แนวทางการดูแล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ pair t-test

ผลการศึกษา : แนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกประกอบด้วย แผนการสอน การดูแลตนเองหลังคลอดของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก แนวปฏิบัติการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก พบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก มีคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนใช้แนวทางอยู่ที่ 2.68 (SD=0.32) ภายหลังใช้แนวทางในการดูแลมีคะแนนเฉลี่ย 3.50(SD=0.38) สูงกว่าก่อนใช้แนวทาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < 0.001) ด้านความพึงพอใจของมารดาวัยรุ่นต่อแนวทางการดูแล มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.52(SD=0.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกมีค่าเฉลี่ยที่ 3.77(SD=0.36) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน

ข้อสรุป : แนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก เมื่อนำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแล ให้เป็นทางเดียวกัน ในการสอน แนะนำมารดาหลังคลอด ให้สามารถดูแลตนเองและดูแลบุตรได้ รวมถึงการสร้างความเข้าใจ แหล่งสนับสนุน ช่วยเหลือมารดา การช่วยเลี้ยงดูบุตร จะทำให้มารดาวัยรุ่นมีความพร้อม และมั่นใจในการปฏิบัติบทบาทของมารดาได้อย่างเหมาะสม

References

Saejeng K,Sukrat B,Kovavisarat E,Pomprapat P,Kanjanawetang J.A practical guide for

teenagers.Bangkok :Media Center and Kaewchaochom Publication;2015.

Word Health Organization.World health statistics 2017:Monitoring health for the

SDGs(Substainable Development Goals)[Internet].2017[cited2019 Jun 8];Avaliable

from:http://who.int/gho/publication/world _health_statistics

กรมอนามัยร่วมกับไบเออร์ไทย รณรงค์สังคมไทยหยุดท้องไม่พร้อม สนับสนุนการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพในวันคุมกำเนิดโลก 25 กันยายน 2020 https://www.bayer.com/th/thailand cited2020 Jun 8];

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาตประจำประเทศไทย.ขนาดและแนวโน้มการตั้งครรภ์/การคลอดในวัยรุ่น.แม่วัยใสความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น.2557

ศศินันท์ พันธ์สุวรรณ,พัชรินทร์ สังวาลย์,อิชยา มอญแสง และพัชรินทร์ ไชยบาล.(2556)ประสบการณ์หลังตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไม่ได้แต่งงานในภาคเหนือตอนบน.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

(กย.-ธ.ค 2556 หน้า17-35)

สถิติผู้ป่วย หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม.2564

บุญชม ศรีสะอาด. (2546).การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาส์น.

เบญจพร ปัญญายง ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล .(2557).กองบรรณาธิการ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพ

อัญชลี เหมะญาติ,สมหมาย แจ่มกระจ่างและศรีวรรณ ยอดนิล.2558.การปรับตัวแม่วัยรุ่น.วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม ปีที่11ฉบับที่1(171-190)

ศุภมาศ ไชยพรัตนนาม, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์และนิษณา สิงหาคำ.(2552).การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ในจังหวัดพิจิตร.วารสารโรงพยาบาลพิจิตร,24(1),41-53

มาลีวัล เลิศสาครศิริและสาลี่ แซ่เบ้.ผลของการสนับสนุนของครอบครัวและการเสริมพลังอำนาจต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก.วารสารพยาบาล.68(1).29-38.2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-15