ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารลดเค็มต่อความรู้และค่าอัตราการกรองของไต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การจัดการอาหารลดเค็ม, โภชนบำบัดโรคไต, อัตราการกรองไตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมการจัดการอาหารลดเค็มต่ออัตราการกรองของไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลิกโรคไต อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
วัสดุและวิธีการ การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารักษาในคลินิกโรคไตที่ได้รับการให้คำปรึกษาด้านโภชนบำบัดที่มีคุณสมบัติตามกำหนด ผู้ป่วยไตระยะ 3a จำนวน 27 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ โปรแกรมการจัดการอาหารลดเค็มประกอบด้วย 1) การให้ความรู้โภชนบำบัดโรคไต 2) การจัดเมนูอาหารโรคไต แบบบันทึกค่า eGFR การวิเคราะห์โดยใช้ สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการศึกษา หลังการใช้การใช้โปรแกรมการจัดการอาหารลดเค็ม ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้และค่า อัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01ตามลำดับ
ข้อสรุป การวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการอาหารลดเค็มช่วยเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ รวมถึงเสริมสร้างพฤติกรรมการรับประทานอาหารลดเค็มได้อย่างเหมาะสม อันจะนำไปสู่การชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะยาวต่อไป
References
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2555.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2558.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. 2558 สถานการณ์ปัจจุบันโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558 ; 40(5): 5-18.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง. ฐานข้อมูล รพร.บ้านดุง 20 มกราคม 2565; 2565. (เอกสารอัดสำเนา).
วิศรุดา ตีเมืองซ้ายและพิชญาภร ภัคสุพศิน. การพัฒนารูปแบบชะลอภาวะไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิครักษ์ไตปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(3): 125-135.
Faul F, Erdfelder E, Lang, & Buchner. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39(2): 175-91.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31(1): 130-45.
เจษฏา บุญญานุภาพพงศ์ และรัชยา พรมภักดี. ประสิทธิผลการพัฒนาโปรแกรมสุขภาพลดเค็มต่อการชะลอภาวะไตเสื่อมในอำเภอบางระกำ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2564; 11(1): 77-91.
ธัญญพัทธ์ สุนทรานุรักษ์, นวลอนงค์ หุ่นบัวทอง, อัชพร แสงอุทัย. ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารชะลอไตเสื่อมในคลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2563; 3(2): 87-97.
Zheng, W., Qian, G., Hao, W., Geng, X., Hong, Q., Cai, G., et al . Cardiovascular metabolic risk factors and glomerular filtration rate: a rural Chinese population study. Lipids Health Dis. 2016; 15(180): 2-5.
รัตตินันท์ สิงห์ประเสริฐ, นิโรบล กนกสุนทรรัตน์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2561; 5(1): 57-74.
รสสุคนธ์ วาริทสกุล. การจัดการอาหารเพื่อชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน.วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(1): 22-8.
นิฤมล สบายสุข, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, ณิชกานต์ ทรงไทย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2561; 21(พิเศษ): 137-15.
พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. โปรแกรมควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.2559 ; 6(3): 205-15.
สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(5): 857-86.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ