การพัฒนาแนวทางในการปรับขนาดยาปฏิชีวนะชนิดฉีดให้เหมาะสมในคนไข้ไตเรื้อรัง รพ.นครพนม

ผู้แต่ง

  • วิบูลย์ อยู่ยงวัฒนา
  • จิราวรรณ สันติเสวี
  • วิชิต เหล่าวัฒนาถาวร
  • ศศิธร อยู่ยงวัฒนา

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างเหตุผล, ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดที่เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต และช่วยสามารถลดค่าใช้จ่ายของการใช้ยาปฎิชีวนะชนิดฉีด

วัสดุและวิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากระบบรายงานการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดที่มีการใช้ในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนครพนม มีการแบ่งกลุ่มระบบใหม่และระบบเก่า รูปแบบเป็นเชิงพรรณนาการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด การเปรียบเทียบจำนวนการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดที่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปฏิชีวนะชนิดฉีดก่อนและหลังจากการมีการปรับขนาดยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผลการศึกษา: เป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้ยาปฎิชีวนะชนิดฉีด 17 รายการแก่ผู้ป่วยใน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560-30 กันยายน 2564 พบว่าการปรับขนาดยาปฏิชีวีนะชนิดฉีดหลังจากมีการปรับระบบใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเก่าพบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดมีการปรับขนาดยาในผู้ป่วยไตเรื้อรังตามความเหมาะสม เปรียบเทียบระหว่างระบบใหม่กับระบบเก่า คิดเป็นร้อยละ 77.18 กับ 65.99 ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value<0.001) หลังการใช้ระบบพบรายการยาที่ยังปรับขนาดยาไม่เหมาะสมบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ceftazidime injection 1 g, Amoxicillin+Clavulonic acid. injection และ Meropenem injection 1 g มูลค่ายาที่สูญเสียจากการปรับขนาดยาไม่เหมาะสม ลดลงจากร้อยละ 24.15 เป็น 3.01

ข้อสรุป: การปรับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดหลังจากปรับตามระบบใหม่ ทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ลดการค่าใช้จ่ายด้านยา

References

ประสิทธิผลของนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อาศัยการจ่ายเงินตามเกณฑ์คุณภาพของผลงานบริการ. คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์, ไตรเทพ สุรศักดิ์เหล่าดิ์. JJPP Thai Journal of Pharmacy Practice. Vol 2 No2 Dec 2017.

Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotic. Health System Research Journal. 2012; 6:361-73.

Apisarnthanarak A, Danchaivijitr S, Khawcha roenporn T. Effectiveness of education and antibio- tic-control program in tertiary hospital in Thailand. Clin Infect Dis 2006; 42:768-75

The Sanford Guide To Antimicrobial Therapy 2018

ธีระพงษ์ มนต์มธุรพจน์. Treatment of Community-Acquired Urinary Tract Infection in the Current Era of Quinolone Resistant Uropathogens แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในชุมชนในภาวะที่เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยากลุ่มควิโนโลน. Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved

The Sanford Guide To Antimicrobial Therapy 2018

Youssef A, Almubarak A, Aljohnai M, Alnuaimi M, Alshehri B, Al-ghamdi G, et al. Contraindicated medications administered to inpatients with renal insufficiency in a Saudi Arabian hospital that has a computerized clinical decision support system. J Taibah Univ Med Sci 2015;10:320-6.

Sellier E, Colombet I, Sabatier B, Breton G, NResearch. Bangkok. 24 – 25 July 2014.

Hou JY, Wang YJ, Kuo LN, Shen WC, Lee YY. Retrospective evaluation of the outcomes of applying the renal dosing monitoring system in a medical center. J Exp Clin Med 2011;3:176-80.

Arisa Saengpeng, Kritsanee Saramunee, Wanarat Anusornsangiam Development of Dosage Adjustment System for In-patients with Renal Impairment at Prasat Hospital, Surin Province Thaijournal pharmacy practice. Vol. 9 No1 Jan-Jun 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-15