การเปรียบเทียบผลของการใช้สารหล่อลื่น nasal prongs ระหว่าง 0.9% Normal Saline และ 0.02% TA Cream เพื่อลดภาวะเลือดออกในจมูกของผู้ป่วยทารกที่ใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิด non-invasive โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • รุจิรา ดิษฐวงศ์ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม
  • ประกายเพชร วงค์คำจันทร์ หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

Nasal Prongs, เลือดออกในโพรงจมูก, Normal Saline, TA Cream

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบร้อยละของการเกิด nasal bleeding ชั่วโมงที่เริ่มเกิด และความรุนแรงของการเกิด nasal bleeding ระหว่างการใช้ 0.9% normal saline กับ 0.02% TA cream

 วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) ในทารกที่ใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจแบบ non-invasive ชนิด nasal prongs หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเมษายน 2561 จำนวน 46 ราย สุ่มผู้ป่วยให้ได้รับ 0.9% normal saline กับ 0.02% TA cream ก่อนและระหว่างใส่ nasal prongs ด้วยวิธี block of four randomization โดย opened envelope  ติดตามผู้ป่วยตลอดช่วงที่ใส่ nasal prongs บันทึกชั่วโมงที่เกิด และความรุนแรง วิเคราะห์ลักษณะทั่วไป ชั่วโมงที่เริ่มเกิดเลือดออก ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในโพรงจมูก ด้วย t-test และ exact probability test

ผลการศึกษา: การใช้ 0.9% Normal Saline เปรียบเทียบกับ 0.02% TA Cream เพื่อลด Nasal Bleeding ในผู้ป่วยทารกที่ได้รับการใส่ Nasal Prongs พบว่า ลักษณะทั่วไปของทั้งสองกลุ่มคล้ายคลึงกัน เกิดเลือดออกในโพรงจมูกระดับเล็กน้อย ในกลุ่มที่ใช้ 0.9% normal saline (43.4%) มากกว่ากลุ่มที่ใช้ 0.02% TA cream (13.0%) (p=0.022) ชั่วโมงที่เริ่มเกิดเลือดออกในโพรงจมูกจากการใช้ 0.9% normal saline เท่ากับ 27.5 ชั่วโมง และเท่ากับ 40.1 ชั่วโมงในกลุ่มที่ใช้ 0.02% TA cream (p=0.03) ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.862)

สรุป: การใช้ 0.9% normal saline ก่อนและขณะใส่ nasal prongs เกิดเลือดออกในโพรงจมูก ระดับ mild น้อยกว่า 0.02% TA cream แต่มีแนวโน้มว่าเกิดได้เร็วกว่า จึงแนะนำให้ใช้ในระยะแรก แต่ควรระวังถ้าต้องใช้ต่อเนื่องกันนานเกิน 28 ชั่วโมง โดยอาจเลือกใช้วิธี non-invasive ชนิดอื่นสลับกันไป

References

น้ำทิพย์ ทองสว่าง.Nursing role : Prevention oxygen toxicity for pre term infant.ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์(บก.), Update and Practical prints in preterm care ( หน้า216-225). กรุงเทพฯ:แอคทีป ปริ้นท์ จำกัด,2557.

น้ำทิพย์ ทองสว่าง.Respiratory care:ใน The 4 th ramathibody neonatology 2013 กรุงเทพฯ.2556.

บูรณี เศวตสุทธิพันธ์.การช่วยหายใจแบบไม่รุกรานในทารก ( Non invasive respiratory support in neonate) ในประชานันท์ นฤมิต(บก.), การประยุกต์ความรู้ทางสรีระวิทยาในการดูแลทารกแรก เกิด(หน้า198-218). กรุงเทพฯ.2558.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา และศิริวรรณ ตันเลศ.การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด.ใน พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา(บก.),การพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (หน้า 117-195).นนทบุรี:ยุทธรินทร์การ พิมพ์.2549

ธีรเดช คุปตานนท์,อัญชลี ลี้จากภัย.การช่วยหายใจด้วยการให้ความดันบวกผ่านหน้ากาก non invasive positive pressure ventilation.ใน อรุณวรรณ พฤทธิพันท์ (บก.),Pediatric respiratory care. การบำบัดรักษาระบบทางเดินหายใจในเด็ก สำหรับแพทย์ พยาบาล( หน้า 284-294). กรุงเทพฯ.2550

ปารยะ อาศนะเสน.เลือดกำเดาไหล (Epistaxis).Siriraj E-public Library. [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2559]. Available from: htpp://www.si.mahidol.ac.th/sidictor/e-pl/.

Carlisle,H.R.,Kamlin,C.o.F.,Owen,L.S.,Davis,P.G.,&Morey,C.J.(2010).Oral continuous positive airway pressure (CPAP) following nasal injury in a preterm infant.Archives of Disease in Childhood-Fetal and Neonatal Edition,95 F142-F143.

Do Nasscimento,R.M.,Ferreira,A.L.,Coutinho,A.C.,&Verissimo,R.C.(2009).The frequency of nasal injury in newborn due to the use of continuous positive air way pressure with prongs.Revista Latino-Americana de Enfermagan,17(4),489-494

Gunlemez,A.,Isken,T.,Gokalp,A.S.,Turker,G.,&Arisoy,E.A.(2010).Effect of silicon gel sheeting in nasal injury associated with nasal CPAP in preterm infant. Indian Pediatrics,47 265-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-09