ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ณรงค์เดช บุตรวร โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบติดเชื้อ, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต, อัตราการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : โรคปอดอักเสบติดเชื้อเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งของโรงพยาบาลนครพนม และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญหนึ่งใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตซึ่งสอดคล้องกับสถิติของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาในที่โรงพยาบาลนครพนม และวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาจำนวน, อัตราการเสียชีวิต, ลักษณะของผู้ป่วย, อาการและอาการแสดง, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ภาวะแทรกซ้อน, สาเหตุการตาย และผลเพาะเชื้อของจากเสมหะและเลือดของผู้ป่วย

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงสาเหตุ (Etiognostic research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective case control study) จากเวชระเบียนผู้ป่วยในอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนมด้วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 01 มกราคม พ.ศ.2562 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ 1,006 คน อายุเฉลี่ย 63.8 ปี เพศชายร้อยละ 65.61 เป็นผู้ป่วยที่ส่งตัวจากโรงพยาบาลชุมชนมารักษาต่อร้อยละ 59.44 เป็นปอดอักเสบติดเชื้อชุมชนร้อยละ 87.67 ปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงร้อยละ 66.70 รับรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมร้อยละ 94.53 พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิต 355 คน (ร้อยละ 35.29) สาเหตุการเสียชีวิตจากภาวะช็อก (ร้อยละ 55.77), ภาวะพร่องออกซิเจน (ร้อยละ 34.08) และภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน (ร้อยละ 10.14) ตามลำดับ เมื่อนำปัจจัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์แบบ Multivariable logistic regression พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) ได้แก่ ผู้ป่วยที่ส่งตัวจากโรงพยาบาลชุมชนมารักษาต่อ, ระดับECOG > 2, เม็ดเลือดขาว < 4,000 cell/mm3, ระดับซีรั่มแลคเตต ≥ 4 mmol/l ,กลุ่มปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง, การใช้เครื่องช่วยหายใจ, การได้รับยากระตุ้นความดันโลหิต, การเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ, กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน, ช็อกเหตุพิษติดเชื้อ, ภาวะไตวายเฉียบพลัน, ภาวะหายใจลำบากเฉียบพลัน

ข้อสรุป : โรคปอดอักเสบติดเชื้อเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม จากผลการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อที่มีนัยสำคัญดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะช่วยในการประเมินผู้ป่วยแรกรับและให้การรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของโรค ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้

References

Storms AD, Chen J, Jackson LA, Nordin JD, Naleway AL, Glanz JM, et al. Rates and risk factors associated with hospitalization for pneumonia with ICU admission among adults. BMC Pulm Med. 2017;17(1):208.

Garcia-Vidal C, Fernández-Sabé N, Carratalà J, Díaz V, Verdaguer R, Dorca J, et al. Early mortality in patients with community-acquired pneumonia: causes and risk factors. Eur Respir J. 2008;32(3):733-9.

Diego Viasus, et al. Early, short and long-term mortality in community-acquired pneumonia [internet] 2018 [cited 2022April 03]. Avialable from : https://arh.amegroups.com/article/view/4327/5254

Waterer GW, Self WH, Courtney DM, Grijalva CG, Balk RA, Girard TD, et al. In-Hospital Deaths Among Adults With Community-Acquired Pneumonia. Chest. 2018;154(3):628-35.

Almirall J, Serra-Prat M, Bolíbar I, Balasso V. Risk Factors for Community-Acquired Pneumonia in Adults: A Systematic Review of Observational Studies. Respiration. 2017;94(3):299-311.

Ramirez JA, Wiemken TL, Peyrani P, Arnold FW, Kelley R, Mattingly WA, et al: University of Louisville Pneumonia Study Group. Adults Hospitalized With Pneumonia in the United States: Incidence, Epidemiology, and Mortality. Clin Infect Dis. 2017;65(11):1806-12.

Kanok Pipatvech. Prognostic Factors of Severe Community-Acquired Pneumonia in Uttaradit Hospital [internet] 2015 [2020 Jul 05]. Avialable form : https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/429/380

Tashiro M, Fushimi K, Takazono T, Kurihara S, Miyazaki T, Tsukamoto M, et al. A mortality prediction rule for non-elderly patients with community-acquired pneumonia. BMC Pulm Med. 2016;8;16:39.

Sangmuang P, Lucksiri A, Katip W. Factors associated with mortality in immunocompetent patients with hospital-acquired pneumonia. J Global Infect Dis. 2019;11:13-8.

Pornvimol Leethong. Hospital Acquired Pneumonia and Ventilator Associated Pneumonia in Adults at SamutprakarnHospital : Etiology Clinical outcomes and Impact factors of Antimicrobial Resistance [internet] 2019 [cited 2020 Jul 05]. Avialable form : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/215707/150005

Teerapa Rattanaselanon. Clinical aspects and predictive risk factors for mortality of hospitalized community-acquired pneumonia in U-thong hospital [internet] 2017 [cited 2020 Jul 05]. Avialable from : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/120152/91795

Tanit Jaikran, et all. Incidence Rates and Impact of Pneumonia in Pong Hospital [internet] 2021 [cited 2022 April 03]. Avialable form: https://he01.tcithaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/245456/168594

Thanitda Lertloykulchai. ncidence and Etiology of Hospital-acquired Pneumonia and Ventilator associated Pneumonia in Somdetphraphutthaloetla Hospital [internet] 2021 [cited 2022 April 03]. Avialable from : https://thaidj.org/index.php/CHJ/article/view/9565/9281

Wipa Reechaipichitkul, et all. ETIOLOGIES AND TREATMENT OUTCOMES IN PATIENTS HOSPITALIZED WITH COMMUNITY-ACQUIRED PNEUMONIA (CAP) AT SRINAGARIND HOSPITAL, KHON KAEN, THAILAND [internet] 2005 [cited 2020 Jul 05]. Avialable from : https://www.tm.mahidol.ac.th/seameo/2005_36_1/25-3348.pdf

Wittawat Siriyong. Risk factors associated with respiratory failure among hospitalized pneumonia patients in Kanchanadit Hospital, Suratthani [internet] 2019 [cited 2020 Jul 05]. Avialable from : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/188693/132274

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-09