อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอด ก่อนกำหนดในโรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • จิราธิป เหลืองรุ่งโรจน์ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ทารกคลอดก่อนกำหนด, โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติใน ทารกคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity, ROP)โรงพยาบาลมุกดาหาร

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Descriptive retrospective study)

กลุ่มตัวอย่าง : ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มารับการตรวจจอประสาทตาโดยวิธีขยายม่านตาในแผนกผู้ป่วย นอก ศูนย์จักษุวิทยาและในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โรงพยาบาลมุกดาหาร ระหว่างปีงบประมาณ 2563 ถึงปีงบประมาณ 2564 จำนวน 153 ราย

วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ได้แก่ อายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิด ลักษณะทาง คลินิกระยะเวลาและชนิดของการได้รับอ๊อกซิเจน การเกิดROPและการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและ ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ROP ของทารกแรกเกิด

ผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์ข้อมูลทารกคลอดก่อนก าหนด จำนวน 153 ราย พบ ทารกคลอดก่อน กำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ 28 ถึง 32 สัปดาห์ 33 ถึง 36 สัปดาห์และมากกว่า 36 สัปดาห์ คิดเป็น ร้อยละ 3.3 8.5 33.3 และ 54.9 ตามลำดับ อายุครรภ์ 33-36 มีน้ำหนักเฉลี่ย>2500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 66.7 เป็นเพศชายร้อยละ 53.6 ทารกคลอดก่อนกำหนดได้รับออกซิเจนทั้งหมดจำนวน 134 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.6 มากที่สุดเป็นออกซิเจนชนิด Oxygen box or cannula ร้อยละ 60.1 ตรวจพบ ROP 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.6 พบ ROP stage 3 มากที่สุดจำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 57 พบ ROP stage 2 จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 28 พบ ROP stage 1 จำนวน 1 รายคิดเป็นร้อยละ 14 แต่ไม่พบ ROP stage 4 หรือ stage 5 ส่วนใหญ่ พบอยู่ Zone 3 จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 57 ในการศึกษานี้ การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและ ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด ROP ของทารกคลอดก่อนกำ หนด พบว่า อายุครรภ์ และน้ าหนักแรกเกิด ของทารกคลอดก่อนกำหนดที่เกิดROP มีค่าเฉลี่ยต่ ากว่าทารกที่ไม่เกิด ROP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าP-value น้อยกว่า 0.001 ส่วนจำนวนวันที่ได้รับอ๊อกซิเจนแต่ละชนิดในทารกที่เกิดROP พบว่า อ๊อกซิเจนชนิด Oxygen box or cannula และการได้รับอ๊อกซิเจนหลายชนิด (Total oxygen) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าทารกที่ไม่เกิด ROP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า P-value น้อยกว่า 0.001

สรุป : อุบัติการณ์การเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลมุกดาหารคิด เป็นร้อยละ 4.6 อายุครรภ์ และน้ำหนักแรกเกิดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติใน ทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงการได้รับอ๊อกซิเจนชนิด Oxygen box or cannula และการได้รับอ๊อกซิเจนหลายชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กอบลาภ ธงทอง. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร.วารสารวิชาการแพทย์เขต 112561; 4:1261-8.

ขวัญใจ วงศ์กิตติรักษ์. Blindness Low Vision and Eye Diseases in Thai Children. วารสารวิจัย ระบบสาธารณสุข2555:501-12.

ฐิติพร รัตนพจนารถ. บทความพิเศษ Retinopathy of Prematurity. เวชสารแพทย์ทหารบก2548;1:55- 9.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์. โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอกก่อนก าหนด. ในศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง, บรรณาธิการ. ตำราจักษุวิทยาเด็กและตาเข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2546. หน้า 162-71.

ส านักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางตรวจคัดกรองและการดูแล รักษาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จ ากัด; 2547.

สุอัมภา ด้วงสังข์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ของการเกิดโรคจอตาผิดปกติในทารกคลอดก่อน กำหนดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร2560; 32(1).

อดิศักดิ์ ตรีนวรัตน์. บทความฟื้นฟูวิชาการ Retinopathy of prematurity: An update on screening and management. Canadian Paediatric Society [Internet]. 2016[cited 2021 Mar 20]. Available from: https://cps.ca/documents/position/retinopathy-of-prematurity-screening.

อรทัย สุวรรณพิมลกุล. จอประสาทตาผิดปรกติในเด็กคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity). ISOPTIK The Hi-End Eyeglasses Centre2021:1-5.

อภิชาต สิงคาลวณิช. จอประสาทตาและวิเทรียส. ในอภิชาต สิงคาลวณิช, ญาณี เจียมไชยศรี, บรรณาธิการ. จักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2540.

Gunn DJ, Cartwright DW, Gole GA. Incidence of retinopathy of prematurity in extremely premature infants over an 18-year period. Clin Exp Ophthalmol 2012; 40: 93-9.

Hellstrom A, Smith LE, Dammann O. Retinopathy of prematurity. Lancet 2013; 382: 1445- 57.

Minghua L. Chen, Lei Guo, Lois E. H. Smith, Christiane E. L. Dammann, Olaf ammann. High or low oxygen satuation and severe Retinopathy of prematurity; A Meta-analysis. American academy of pediatrics2010;125(6):1483-92.

ห13. Qiuping Li, ZonghuaWang, Ruijuan Wang, Hongyi Tang, Haihua Chen, Zhichun Feng. A Prospective Study of the Incidence of Retinopathy of Prematurity in China: Evaluation of Different Screening Criteria. Hindawi Publishing Corporation Journal of ophthalmology2016;1-8.

Sang Jin Kim, Alexander D. Port, Ryan Swan, J. Peter Campbell, R. V. Paul Chan, Michael F. Chiang. Retinopathy of prematurity: a review of risk factors and their clinical significance. Survey of ophthalmology2018;63(5):618-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28