การศึกษาผลการตรวจชิ้นเนื้อไส้ติ่งของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่ง โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ยุทธพล มั่นคง โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • พนิดา กัณณิกาภรณ์ โรงพยาบาลมุกดาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจชิ้นเนื้อไส้ติ่งของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่ง ที่เข้ารับบริการ โรงพยาบาลมุกดาหาร จากกลุ่มประชากรมีผลการตรวจชิ้นเนื้อไส้ติ่งครบถ้วน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2557 จำนวน 411 ราย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ย อันดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U Test, Kruskal-Wallis test, Chi-Square Tests และ Odds Ratio, 95% Confidence Interval (กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชายเล็กน้อย ร้อยละ 55.2 และ 44.8 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 35.4±18.9 ปี ไส้ติ่งที่พบมีความกว้างและยาวเฉลี่ย 0.9±0.3 และ 6.0±1.7 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยอันดับความกว้างและยาวของไส้ติ่งในเพศชาย คือ 233.32 และ 231.57 สูงกว่าเพศหญิงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ช่องภายในไส้ติ่งมี fecal material มากที่สุด ร้อยละ 48.7 ผลการตรวจชิ้นเนื้อไส้ติ่งพบว่า เป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (Acute appendicitis) และไส้ติ่งแตกทะลุ (Ruptured appendicitis) ใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 29.9 , 29.4 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์พบว่าอายุ เพศ และความกว้างของไส้ติ่งมีความสัมพันธ์กับไส้ติ่งแตกทะลุอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) และเพศชายเป็นปัจจัยเสี่ยงของไส้ติ่งแตกทะลุ มากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า (Odds Ratio = 2.019, 95% Confidence Interval = 1.314 -3.104) ผลการศึกษาพบว่าประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งมีพยาธิสภาพไส้ติ่งแตกทะลุและเพศชายเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดไส้ติ่งแตกทะลุ ดังนั้นหน่วยบริการสาธารณสุขในจังหวัดมุกดาหารสามารถนำผลการศึกษาซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพ การรักษาผู้ป่วยเป็นข้อมูลพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันเพื่อทบทวนกระบวนการดูแลรักษารวมถึงพัฒนาวิธีการที่จะช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบและไส้ติ่งแตกทะลุเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการบริการสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Khan I, Rehman AU. Application of Alvarado scoring system in diagnosis of acute appendicitis. J Ayub Med Coll Abbottabad. 2005;17(13) : 41-44

Buckius MT, McGrath B, Monk J, Grim R, Bell T, Ahuja V. Changing epidemiology of acute appendicitis in the United States: study period 1993-2008. J Surg Res. 2012 Jun 15;175(2):185-90. doi: 10.1016/j.jss.2011.07.017. Epub 2011 Aug 9.

พรรวินท์ ศรีเพ็งเพชร์. ผลลัพธ์การให้บริการกรณีไส้ติ่งอักเสบใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ 2548-2551. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554 ปีที่5 ฉบับที่4 :548-56

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552. (หน้า 48). นนทบุรี: สำนักพิมพ์บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2555.

กลุ่มงานศัลยกรรม. PCT ศัลยกรรม Clinical Tracer Appendicitis โรงพยาบาลมุกดาหาร: โรงพยาบาลมุกดาหาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2556.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม [อ้างเมื่อ 2 กันยายน 2559]

จาก http://www.rcst.or.th/view.php?group=8&id=203

ณรงค์ พึ่งพรธรรมกุล . ประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ โดยใช้ระบบคะแนน Alvarado scoreโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารโรงพยาบาลร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนตุลาคม 2555. 29-35

พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์, ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี. ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2556. 36-42

พิเชษฐ พืดขุนทด. ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบโดยใช้ระบบคะแนน Modified Alvarado ในโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2554:26:149-156

ภาคภูมิ มโนสิทธิศักดิ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดไส้ติ่งแล้วไม่พบพยาธิสภาพในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553; 25(3). 223-7

โกวิท ไชยศิวามงคล, ธนรัฐ จันทอุปฬี, นวพร เตชาทวีวรรณ, ยรรยง ทุมแสน, ธัณย์สิตา อนันต์ธีระกุล, สมสุดา ทีปสว่าง, สิทธิชัย เอี่ยมสะอาด, ตวงปราชญ์ ศรีกุลวงศ์). ความผันแปรของตำแหน่งไส้ติ่ง ในศพคนไทยอีสาน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553; 25(3). 250-255

สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล. ความยาวไส้ติ่งกับการเกิดไส้ติ่งอักเสบฉับพลันในผู้ใหญ่. พุทธชินราชเวชสาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555. (85-90)

มาวิน วงศ์สายสุวรรณ. Appendix. ในสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ, พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ (บรรณาธิการ), ตำราศัลยศาสตร์ ภาค 2 (หน้า267-282). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทไพลินบุ๊คเน็ตจำกัด (มหาชน); 2558.

นริทธิ์ สังข์สม. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและอักเสบแตกทะลุในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 15.17. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2549. 61-6

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-28