ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติสำหรับทารกแรกเกิดที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาและทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ เพื่อลดการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูง โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • อนัญญา สารีพร กลุ่มงานการพยาบาลกุมารเวชกรรม กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, ภาวะสูดสำลักขี้เทา, ภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ, ภาวะความดันเลือดในปอดสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติสำหรับทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาและทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำเพื่อลดการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูง และเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูง (PPHN) ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ ในกลุ่มผู้ป่วยทารกที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ (MSAF) ตึกเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงประสิทธิภาพ (Retrospective Interrupted time) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทาและทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะ ขี้เทาปนน้ำคร่ำที่ผู้ปกครองยินยอมรับการรักษาและคลอดในโรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2562 จำนวน 302 ราย แบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) และทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ (MSAF) ที่ไม่ได้รับการดูแลตาม แนวปฏิบัติ ในระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ.2561 จำนวน 203 ราย และกลุ่มผู้ป่วยภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) และทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ(MSAF) ที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 จำนวน 99 ราย

ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติฯ มีอัตราการเกิด PPHN ลดลงเหลือ 0.73 เท่า (p=0.604 ) ลดการเกิดความรุนแรงของภาวะ PPHN ได้ 0.72 เท่า (p=0.587) และลดอัตราตายเหลือ 0.25 เท่า (p=0.200)

ข้อสรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) และภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ (MSAF) นั้น เมื่อนำแนวทางปฏิบัติมาใช้ ลดการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูง (PPHN) ได้ รวมทั้งลดความรุนแรงและแนวโน้มในการลดอัตราการตายลง และควรขยายผลการใช้แนวปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูง

References

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์;2536

นพวรรณ พงศ์โสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต11 .ปีที่31 ฉบับที่1 ม.ค -มี.ค 2560

วรนาฏ จันทร์ขจร. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร. 2549

สถิติผู้ป่วยปีงบประมาณ 2556 – 2559 ตึกเด็ก 2 โรงพยาบาลนครพนม

สาธิต โหตระกิตย์. Persistent pulmonary hypertension of the newborn (PPHN). Advanced neonatal mechanical ventilation and neonatal respiratory intensive care. 2543

อุไรวรรณ โชติเกียรติ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์, วิไล ราตรีสวัสดิ์. ผลการรักษา Persistent pulmonary hypertension of the newborn. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2542.

Jain A, McNamara PJ. Persistent pulmonary hypertension of the newborn: Advances indiagnosis and treatment. Semin Featal Neonatal Med 2015; 20: 262-71.

Emerging role of sildenafil in neonatology. Malik M, Nagpal R. Indian Pediatr.2011 jan;48(1):11-3.

Persistent Newborn Pulmonary Hypertension, Medscape: Author: Salaam Sallaam, MD; Chief Editor: Howard S Weber, MD, FSCAI Updated: dec 10, 2015

ROYAL HOSPITAL FOR WOMEN CLINICAL POLICIES AND PROCEDURES Approved by Neonatal Clinical Committee.

Sildenafil in the management of neonates with PPHN: A rural regional hospital experience. Arnold L Engelbrecht, MB ChB, MMed (Paed) Worcester Hospital, Worcester, W Cape.SAJCH DECEMBER 2008 VOL. 2 NO.4

UPDATE ON PPHN: MECHANISMS AND TREATMENT Semin Perinatol. Author manuscript; available in PMC 2015 Mar 1. Jayasree Nair, MBBS, MD Satyan Lakshminrusimha, MD

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27