ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัดทอนซิลหลังจำหน่าย โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
Tonsillectomy, Hemorrhage, Post-operation, Food Consumption, Cough, Male Genderบทคัดย่อ
ความสำคัญ: ภาวะทอนซิลโตจากการอักเสบเรื้อรังหรือมะเร็ง ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงและเกิดภาวะทางเดินหายใจ อุดตัน ผู้ป่วยอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) โดยเฉพาะในเด็ก การผ่าตัดทอนซิลออกมีผลข้างเคียง ที่พบได้ คือการมีเลือดออกจากแผลผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่พบ 5-10 วันหลังผ่าตัด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัดทอนซิลหลังจำหน่ายรูปแบบศึกษา สถานที่ และผู้ป่วย: เป็นการศึกษาเชิงสมมุติฐาน รูปแบบ retrospective cohort ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดทอนซิล ในหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างปี 2556-2559 จำนวน 153 คน การวัดผล และวิธีการ: สืบค้นข้อมูลผู้ป่วยที่ผ่าตัดทอนซิลจากเวชระเบียน จำแนกเป็นกลุ่มที่มีเลือดออก (24 ราย) และ ไม่มีเลือดออก (129 ราย) ตัดผู้ป่วยที่ขาดการติดตามผลการรักษาออกจากการวิเคราะห์ (41 ราย) บันทึกลักษณะทั่วไป วิธีการ ผ่าตัด ลักษณะทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง และลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหาร การไอ การขากเสมหะ เปรียบ กลุ่มศึกษาด้วย t-test, chi-squared test และวิเคราะห์ลักษณะเสี่ยงด้วย multivariable logistic regression ผล: พบว่าลักษณะเสี่ยงที่ทำให้เลือดออกจากแผลผ่าตัดทอนซิล พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 10.88 เท่า (95%CI = 1.44-82.07, p = 0.021) การไม่รับประทานอาหารเหลวเย็นหลังผ่าตัดใน 1 สัปดาห์ 183.16 เท่า (95%CI = 7.49- 4479.18, p=0.001) และพฤติกรรมการไอและขากเสมหะแรงๆ ทำให้เลือดออกจากแผลผ่าตัด 98.44 เท่า (95%CI = 9.39- 1031.6,p < 0.001) ข้อยุติ และการนำไปใช้: ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทอนซิลทุกราย ควรได้รับคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเหลวเย็นให้ ครบ 1 สัปดาห์ ระวังการไอหรือขากเสมหะ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศชาย เนื่องจากเป็นลักษณะเสี่ยง
References
ปารยะ อาศนะเสน. การผ่าตัดต่อมทอนซิล[ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=465
เอมอร คชเสนี. ทอนซิลอักเสบควรผ่าตัดเมื่อใด[ออนไลน์].กรุงเทพฯ: ผู้จัดการออนไลน์; 2549 เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.asp0 ?NewsID=9490000080636
ชาญชัย ชรากร. Tonsillectomy [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: หาหมอ.com; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th
Ahsan F, Rashid H, Eng C, Bennett DM, Ah-See KW. Is secondary haemorrhage after tonsillectomy in adults an infective condition? Objective measures of infection in a prospective cohort. Clin Otolaryngol 2007; 32(1): 24-7.
Wieland A, Belden L, Cunningham M. Preoperative coagulation screening for adenotonsillectomy: a review and comparison of current physician practices. Otolaryngo Head Neck Surg 2009; 140(4): 542-7.
Windfuhr JP, Schloendorff G, Baburi D, Kremer B. Life-threatening posttonsillectomy hemorrhage. Laryngoscope 2008; 118(8): 1389-94.
Sleepgroup.com. คำแนะนำหลังผ่าตัด [ออนไลน์]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2559]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.sleepgroup.com/t0104/index.php?pgid=index
Ali RB, Smyth D, Kane R, Donnelly M. Post-tonsillectomy bleeding. Ir J Med Sci 2008; 177(4): 297-301.
ENT Blog [online].Virginia: Christopher Chang; 2015 June 3 [cited 2015 Oct 5]. Available from: https://fauquierent.blogspot.com/2015/03/bleeding-after-tonsillectomy -pictures.html
Carmody D, Vamadevan T, Cooper SM. Post tonsillectomy haemorrhage. J Laryngol Otol 1982; 96: 635-638
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ